WhatsApp our business consultants: +601117227604

การบริหารพนักงานเบื้องต้น: เคล็ดลับในการจัดการพนักงาน

การบริหารพนักงานเบื้องต้น เคล็ดลับในการบริหารจัดการพนักงาน
การบริหารพนักงานเบื้องต้น เคล็ดลับในการจัดการพนักงาน

การบริหารพนักงานเบื้องต้น: เคล็ดลับในการจัดการพนักงาน

การบริหารพนักงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ คือ หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจขนาดเล็กให้ประสบความสำเร็จ และเจ้าของธุรกิจอย่างคุณต้องใช้เวลาในการสะสมประสบการณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะการบริหารจัดการพนักงานที่เหมาะสม 

อย่างที่รู้กันดีว่า พนักงาน คือหัวใจหลักในการเติบโตของธุรกิจและพวกเขาก็คือกลุ่มคนที่ช่วยคุณจัดการดูแลร้านในแต่ละวัน ซึ่งพนักงานที่ขยันและกระตือรืนร้นในการทำงานนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม พนักงานที่ขี้เกียจและไม่เต็มใจทำงานจะทำให้การบริหารงานภายในธุรกิจหรือร้านค้าล้มเหลวได้ ดังนั้นถ้าไม่มีทีมงานที่ดี ธุรกิจของคุณก็จะไม่เดินหน้าไปไหน

อย่างไรก็ตาม เราเข้าใจดีว่าการบริหารจัดการพนักงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แถมยังไม่มีสูตรหรือหลักการที่ตายตัวอีกด้วย แล้วถ้าหากคุณเป็นผู้นำที่เข้มงวดและชอบบงการ พนักงานก็จะไม่แฮปปี้และไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงาน แต่ถ้าคุณเป็นหัวหน้าที่ใจดีมากเกินไปลูกน้องก็ไม่เกรงและขี้เกียจไปอีก

แต่ไม่ต้องกังวลไป 

เพราะเราเข้าใจปัญหาข้อนี้ดีแล้วก็พร้อมช่วยเหลือคุณมาก ๆ !

ดังนั้นมาดูเคล็ดลับและทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการบริหารพนักงานกันดีกว่าว่าจะต้องทำยังไงถึงจะจัดการพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารพนักงานคืออะไร​ ?

ก่อนเราจะเริ่มพูดถึงเคล็ดลับการบริหารพนักงาน มาทำความเข้าใจถึงความหมายของการบริหารจัดการพนักงานกันดีกว่า

ซึ่งในการจัดการดูแลพนักงานก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้ :-

  1. การคัดเลือก – เลือกจ้างคนให้ถูกกับงาน
  2. การวัดประเมินผล – ประเมินผลงานของพนักงานว่าพวกเขาทำหน้าที่ได้ดีหรือว่าทำตามเป้าหมายของร้านได้หรือไม่
  3. การสอดส่องดูแล – สังเกตการทำงานของพนักงานในแต่ละวัน
  4. ปฏิสัมพันธ์ – ดูว่าพนักงานของคุณพูดคุยสื่อสารและทำงานร่วมกันได้ดีแค่ไหน
  5. รางวัล – ให้รางวัลพนักงานที่มีผลงานยอดเยี่ยม
  6. วินัย – อบรมพนักงานให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของร้าน มีมารยาท และประพฤติตัวอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งมีบทลงโทษหากพนักงานฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าว

อย่าประเมินค่าความสำคัญของการบริหารพนักงานต่ำไป

การบริหารจัดการพนักงานนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจร้านค้าทุกประเภท

แล้วการมีพนักงานที่เหมาะสมและใช่กับตำแหน่งก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะพนักงานที่ผ่านการอบรมและเทรนงานมาเป็นอย่างดีนั้นมักพร้อมที่จะทำงานและให้บริการลูกค้าอย่างเต็มที่

นอกจากนี้พวกเขายังช่วยทำให้กำไรของร้านพุ่งขึ้นได้อีกด้วย เพราะยิ่งพวกเขาให้บริการลูกค้าได้ดีเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจและเกิดความรู้สึกผูกพันกับร้านมากขึ้นเท่านั้น

ถ้าพนักงานไม่ค่อยกระตือรือร้นและไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงาน อัตราการลาออกของพนักงานก็จะสูงขึ้นและทำให้ร้านของคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานใหม่มากขึ้นไปอีก แล้วสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นก็คือคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเทรนพนักงานใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง

ดังนั้นการบริหารจัดการพนักงานที่ดีจึงช่วยให้พวกเขามีแรงบันดาลใจในการทำงานแต่ละวัน ถือเป็นวิธีขับเคลื่อนที่ช่วยให้พนักงานแต่ละคนบรรลุเป้าหมายของตัวเองและเป้าหมายของร้านได้เป็นอย่างดี

10 เคล็ดลับในการบริหารพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เจ้าของธุรกิจร้านค้าอย่างคุณมีวิธีบริหารจัดการพนักงานยังไง ? และวิธีเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากพอหรือเปล่า ? ถ้าไม่แน่ใจมาดูเคล็ดลับทั้ง 10 ข้อของเราได้เลย !

1. จ้างคนให้ถูกกับงาน

เจ้าของร้านอย่างคุณจำเป็นต้องระวังตั้งแต่การเริ่มหาคนเข้ามาทำงานที่ร้าน เพราะคุณต้องแน่ใจว่าพนักงานที่เลือกนั้นเหมาะกับงานจริง ๆ 

แล้วจะรู้ได้ไงละว่าพนักงานนั้นเหมาะหรือเปล่า ? 

นอกเหนือจากคุณสมับัติแล้ว คุณก็ต้องมองหาคุณลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย :-

  • ซื่อสัตย์ – เลือกคนที่จริงใจ ไม่โกหก และรักษาคำพูด เลี่ยงคนที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • อ่อนน้อมถ่อมตน – คนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจะเข้าใจถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง พวกเขาจะไม่คิดเข้าข้างตัวเองหรือดูถูกตัวเองมากเกินไป
  • กระตือรือร้นและมีใจรัก – พนักงานที่ดีต้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาทักษะอยู่เสมอ
  • จัดการกับอารมณ์ได้ดี – สามารถจัดการกับอารมณ์ได้ดีและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • มีแรงบันดาลใจและทะเยอทะยาน – ไม่กลัวงานหนัก
  • ชอบทำงานเป็นทีม – ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
  • เชื่อถือได้ – คนที่คุณเชื่อว่าจะทำงานให้ออกมาสำเร็จได้
  • เปิดรับคำติชม – คนที่เปิดรับคำติชมและพร้อมปรับปรุง

ธุรกิจหรือร้านค้าหลายแห่งโฟกัสที่คุณสมบัติจนลืมมองที่คุณลักษณะ แต่อย่าลืมว่าการที่คน ๆ หนึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการ ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะเหมาะกับงานนั้น ๆ เสมอไป เพราะฉะนั้นลองพิจารณาคุณสมบัติและคุณลักษณะของผู้สมัครแต่ละคนให้ดีก่อนที่จะรับเข้าทำงาน จะได้ลดความผิดพลาดในการจ้างงานและไม่เสี่ยงในการจัดการบริหารจัดการร้านของคุณเอง

2. ประเมินและสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นประจำ

การประเมินพนักงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ นั่นก็เพราะว่าไม่มีใครชอบโดนจ้องมองหรือโดนตรวจสอบ

ดังนั้นในฐานะเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านแล้ว คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้ :-

  • Micromanaging – คอยบอกพนักงานว่าต้องทำอะไร ยังไง หรือจู้จี้ทุกเรื่องมากเกินไป ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้พนักงานเครียดและกดดันเท่านั้น แต่คุณยังจะรู้สึกเหมือนกันด้วย ดังนั้นเมื่อคุณตัดสินใจจ้างใครมาทำงานแล้ว ก็ต้องเชื่อใจและวางใจในตัวพวกเขา
  • ให้ฟีดแบ็คบ่อยเกินไป – อะไรที่มากเกินไปมักจะไม่ดีเสมอ คือถ้าคุณชมพนักงานมากเกินไป พนักงานอาจจะมั่นใจเกินไปและแอบอู้งาน แต่ถ้ามีแต่ติ พนักงานของคุณก็จะรู้สึกไม่มั่นใจและหมดกำลังใจในการทำงานได้ ดังนั้นลองหาจุดกึ่งกลางและให้ฟีดแบ็คพนักงานเดือนละครั้ง เป็นการรีวิวการทำงานและผลงานในแต่ละเดือน ซึ่งคุณสามารถใช้โอกาสนี้ตักเตือน ขอบคุณ แล้วก็บอกแนวทางการปรับตัวให้กับพวกเขาได้
  • ไม่มีความเป็นส่วนตัว – ถ้าคุณคอยจับตามองในทุกอย่างที่พนักงานทำ พวกเขาก็จะรู้สึกกลัว อึดอัด และไม่สบายใจเวลาทำงาน ลองแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณวางใจในตัวพนักงานและเคารพความเป็นส่วนตัวของพวกเขาสิ 

เมื่อพูดถึงการประเมินพนักงานแล้ว คุณต้องมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานทำให้สำเร็จในแต่ละเดือนหรือแต่ละควาเตอร์ พูดคุยกับพนักงานให้พวกเขารู้ว่าเป้าหมายคืออะไรและต้องทำยังไงถึงจะทำให้สำเร็จได้ ให้ตรวจสอบความคืบหน้าในแต่ละเดือนหรือควาเตอร์ ปรับเป้าหมายของร้านเมื่อจำเป็น แล้วก็สนับสนุนคอยให้กำลังใจเมื่อพนักงานมีปัญหา

3. ปลูกฝังการสื่อสารแบบเปิดกว้างในองค์กร

อย่าเป็นเจ้าของร้านที่พนักงานต้องคอยหลบหน้าหรือผู้จัดการร้านที่พนักงานทุกคนกลัวหน้าเมื่อต้องไปทำงาน ให้สื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาเพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกเคารพและเชื่อถือ ทำความรู้จักพนักงานแต่ละคนเพื่อเข้าใจพวกเขามากขึ้น รวมทั้งทำให้พวกเขาสัมผัสได้ว่าคุณเห็นคุณค่าและซาบซึ้งที่พวกเขาทำงานให้

เมื่อพูดคุยกับพนักงาน คุณต้องเปิดใจรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ปัญหาช่วยพนักงาน อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยให้พนักงานเอาเปรียบคุณโดยการปิดบังปัญหาต่าง ๆ ของร้าน เพราะมักจะมีพนักงานบางคนที่ชอบอ้าง โกหก หรือเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาของร้าน

เพราะฉะนั้นคุณต้องทำความเข้าใจพนักงานและไถ่ถามเป็นประจำว่าพวกเขามีปัญหาในการทำงานหรือมีอุปสรรคอะไรหรือเปล่า

และจำไว้ว่าในฐานะเจ้าของร้านหรือผู้จัดการ คุณจะต้องเป็นคนแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ไม่ใช่คนที่คอยหาเรื่องปวดหัวให้พนักงาน คุณควรเคารพและให้พื้นที่ส่วนตัวกับพวกเขา ถ้าหากมีปัญหาก็ไม่ควรต่อว่าพนักงานคนอื่น ๆ 

4. สนับสนุนให้พนักงานแสดงความคิดเห็น

ลองสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและให้ทุกคนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณพร้อมที่จะรับฟังและปรับปรุงในทุกเรื่องเพื่อให้การทำงานหรือธุรกิจร้านค้าดียิ่งขึ้น

ห้ามปิดกั้นไม่ให้พนักงานแสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งแสดงท่าทางไม่เห็นด้วย ไม่งั้นสถานการณ์ต่าง ๆ ตึงเครียดกว่าเดิมแน่ ๆ ทั้งยังส่งผลให้พนักงานไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

เพราะฉะนั้นคุณต้องให้ความสำคัญกับทุกความเห็นและเสียงของพนักงาน เพื่อให้พวกเขารู้ว่าคุณไม่ได้เพิกเฉยและเห็นว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของร้าน

5. มีเป้าหมายที่ชัดเจน

การจะตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนได้นั้น คุณควรรู้ก่อนว่าคุณอยากให้ร้านค้าหรือธุรกิจของคุณเป็นไปในทิศทางไหน ลองตั้งเป้าหมาย คำนวณยอดขาย และผลลัพธ์ที่คุณอยากทำให้สำเร็จดู

จากนั้นก็บอกให้พนักงานรู้และตั้งเป้าหมายของแต่ละทีม เช่น พฤติกรรม ทัศนคติ หรือยอดขายของแต่ละกะ โดยคุณสามารถทำตามหลัก SMART ดังต่อไปนี้ :-

S – Specific – เฉพาะเจาะจง

M – Measurable – วัดได้

A – Attainable – ทำสำเร็จได้

R – Relevant – สัมพันธ์กัน/ตรงประเด็น

T – Time-based – ใช้เวลา 

เพราะถ้าหากพนักงานไม่มีเป้าหมายและทิศทางที่จัดเจน พวกเขาก็จะสับสนและท้อแท้ในการทำงานเพราะไม่รู้ว่าต้องทำยังไงถึงจะบรรลุเป้าหมาย หรือไม่รู้ว่าต้องทำงานไปในทิศทางไหน

ดังนั้นหลักการ SMART จะช่วยให้พนักงานแต่ละคนติดตามความคืบหน้าของการทำงานได้ และในขณะเดียวกันเมื่อพนักงานทำงานไม่ถึงเป้าหมาย คุณก็จะตักเตือนพวกเขาได้

จำไว้ว่าถ้าพนักงานไม่รู้ว่าคุณคาดหวังอะไร พวกเขาก็ไม่มีทางทำตามหลักการ SMART นี้ได้

6. ให้รางวัลพนักงาน

หลังจากที่ทำงานหนักหรือทำงานยาก ๆ ได้สำเร็จ ใคร ๆ ก็อยากเป็นที่ชื่นชมและอยากได้รางวัลกันทั้งนั้น ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าพนักงานคนไหนทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมหรือว่าขยันมากเป็นพิเศษ ก็จงชื่นชมพวกเขาโดยการให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ แจกโบนัสพิเศษ หรือกล่าวขอบคุณก็ได้

แต่คุณจะต้องชื่นชมพนักงานเหล่านี้ต่อหน้าพนักงานคนอื่น ๆ เพื่อให้พวกเขารู้สึกดี ภูมิใจ และกระตุ้นให้ขยันทำงานมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้เลยทำให้มีธุรกิจร้านค้าหลายแห่งมักจะมีการให้รางวัลพนักงานในร้านเป็นประจำ เช่น พนักงานดีเด่นประจำเดือน การจัดกิจกรรมประจำเดือนให้กับพนักงาน และสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น

แต่อย่าลืมว่าคุณต้องให้รางวัลพนักงานในร้านเป็นประจำ ต้องทำให้เป็นเรื่องปกติ และให้รางวัลอย่างโปร่งใสยุติธรรม พนักงานในร้านจะได้ไม่ต้องคิดว่าคุณมีคนโปรดในใจหรือลำเอียงในการให้รางวัล

7. พนักงานต้องสนุกกับงานที่ทำ

ลองคิดดูนะว่าพนักงานของคุณต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ทำงาน เพราะฉะนั้นการทำที่ทำงานให้เป็นที่ที่น่าอยู่และสนุกสนาน จะทำให้พนักงานของร้านมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานให้ออกมาที่สุดและตั้งใจทำงานมากที่สุด

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยกสวนสนุกมาทั้งสวนหรือต้องทำอะไรหรู ๆ เพราะคุณทำให้ที่ทำงานมีสีสันได้ง่าย ๆ เช่น เซอร์ไพรส์และฉลองวันเกิดให้กับพนักงาน มีห้องสำหรับดื่มกาแฟ หรือสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานให้พนักงานทุกคนได้พูดคุยกันอย่างใกล้ชิดโดยไม่จำเป็นต้องพูดเรื่องงานตลอดเวลา

พนักงานของคุณจะทุ่มเทให้กับการทำงานและพยายามเต็มที่เมื่อพวกเขารู้สึกว่าหัวหน้า ผู้จัดการ หรือว่าบริษัทสนใจในเรื่องความสุขและความเป็นอยู่ของพวกเขา

8. เป็นตัวอย่างให้

ในฐานะผู้จัดการหรือเจ้าของร้าน คุณก็ต้องทำตัวให้เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานด้วย

ถ้าคุณมาทำงานสาย พนักงานในร้านก็อาจจะคิดว่ามาสายก็ไม่เป็นไรก็ได้ หรือถ้าคุณปฏิบัติกับพนักงานไม่ดี พนักงานในร้านก็อาจจะปฏิบัติกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ แบบเดียวกันก็ได้ แล้วถ้าคุณไม่ขยันหรือแอบอู้งาน พนักงานในร้านก็จะคิดว่าทำเหมือนกันได้ ไม่เป็นไรเหมือนกัน

9. อย่าโกหกพนักงานเป็นอันขาด

ในฐานะที่เป็นเจ้าของร้าน คุณจะต้องทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส จริงใจ และตรงไปตรงมา เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานไว้ใจและเคารพคุณ อีกอย่างถ้าคุณโกหกพนักงานเรื่องร้าน ปิดบังเรื่องธุรกิจ หรือว่าปกปิดข้อมูล ก็จะทำให้พนักงานไม่นับถือได้ แล้วความสัมพันธ์ของคุณกับพนักงานก็จะแย่ลงไปตาม ๆ กัน

10. ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวในการบริหารพนักงาน

แน่นอนว่าพนักงานของคุณต่างก็มาจากคนละที่ แล้วแต่ละคนก็มีนิสัยใจคอ ข้อดี-ข้อเสีย และความคิดเห็นที่ต่างกันออกไป ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถใช้วิธีเดียวกันในการบริหารจัดการและสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพวกเขา

เช่น พนักงานบางคนอาจจะทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี แต่พนักงานบางคนก็อาจจะทำไม่ได้ อาจจะชอบสไตล์สบาย ๆ มากกว่า

เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องเข้าใจว่าในเรื่องของการบริหารจัดการพนักงานนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วคุณก็ต้องทำความรู้จักกับพนักงานและทำความเข้าใจพวกเขาเพื่อใช้วิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคน

ลองทำให้ชีวิตง่ายขึ้นด้วยระบบบริหารจัดการพนักงานสิ !

จะเห็นได้ว่าเมื่อบริหารจัดการพนักงาน คุณต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกัน และเราหวังว่าเคล็ดลับหรือวิธีบริหารจัดการพนักงานเหล่านี้จะช่วยให้คุณดูแลพนักงานพร้อมกับขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้เติบโตได้ง่ายขึ้น

แต่รู้ไหมว่า นอกจากการบริหารพนักงานด้วยตัวคุณเองแล้ว คุณสามารถทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องชิว ๆ ได้ นั่นก็เพราะเรามีเทคโนโลยียังไงละ และเทคโนโลยีที่ว่านี้ก็ช่วยจัดการทุกอย่างได้อย่างอัตโนมัติ

แล้วจะช่วยบริหารจัดการพนักงานแบบอัตโนมัติได้ยังไง ?

ง่าย ๆ เลย ก็ด้วยระบบบริหารจัดการพนักงานโดยตรงยังไงละ

ระบบนี้ถือเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับเจ้าของร้านค้าและธุรกิจประเภทต่าง ๆ สามารถทำให้การจัดระเบียบงานและสอดส่องดูแลพนักงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้การทำงานของแต่ละฝ่ายคล่องตัวขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ และสามารถลดภาระงานที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ยังช่วยจัดการพนักงานในเรื่องของการเข้า-ออกกะ, สลิปเงินเดือน, ผลงานของพนักงานแต่ละคน รวมถึงความเคลื่อนไหวในร้านในแต่ละกะได้อย่างอัตโนมัติอีกด้วย 

ระบบบริหารจัดการพนักงานที่ดีจะช่วยคุณประหยัดเวลา เงิน และทุ่นแรงได้อย่างยอดเยี่ยม ช่วยให้คุณโฟกัสในการบริหารจัดการร้านด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นได้ดีขึ้น

และที่ดียิ่งกว่านั้นคุณยังจัดการหรือตรวจสอบทุกเรื่องของธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์ เข้าดูข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องมาคอยเช็คหรือกำกับการทำงานของพนักงานทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งยังช่วยให้คุณตรวจสอบการทำงานหรือความเคลื่อนไหวที่ไม่ชอบมาพากลในร้านได้ง่าย ๆ เมื่อไม่อยู่ร้าน

แล้วคุณจะรออะไรอยู่ละ ? ลองใช้ระบบบริหารจัดการพนักงานเลยตอนนี้!

 

CTA - ระบบ POS สโตร์ฮับ โปรแกรมจัดการร้านค้าปลีกและร้านอาหาร

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com