WhatsApp our business consultants: +601117227604

9 วิธีเปิดร้านขายของชำให้ขายดีมีกำไรที่คุณก็ทำได้ !

9 วิธีเปิดร้านขายของชำให้ขายดีมีกำไรของร้านยุคใหม่

ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือว่ามินิมาร์ท ถือเป็นอีกหนึ่งกิจการยอดนิยมในไทย เพราะไม่ว่าจะมีงบน้อยหรือมากก็เริ่มเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ ได้ ที่สำคัญกิจการนี้สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล (ขอเพียงแค่รู้แหล่งซื้อสินค้าราคาถูกเท่านั้น)

และหากคุณกำลังคิดจะเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ วันนี้เราก็มี 9 วิธีเด็ดที่จะช่วยให้ร้านคุณรุ่งและประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่อย่าง 7-11, Big C หรือ Tesco Lotus มาฝากด้วย คือคุณจะต้องเริ่มต้นอย่างถูกต้องและวางแผนให้ครอบคลุมรอบด้าน แต่จะทำยังไงให้ขายดีมีกำไร? ไปดูพร้อมกันเลย!

หัวข้อสำคัญ

1. ศึกษาตลาดเพื่อเตรียมพร้อมเปิดร้านขายของชำ

ศึกษาตลาดเพื่อเตรียมพร้อมเปิดร้านขายของชำ

ภาพจาก Unsplash

ไม่ว่าคุณจะมีโครงการเปิดร้านขายของชำ กำลังวางแผนเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ คิดจะเปิดร้านโชห่วยขนาดย่อม หรือว่าเปิดมินิมาร์ทขนาดเล็ก ขอบอกเลยว่าวงการนี้ถือว่ามีการแข่งขันสูงมาก แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถของคนตั้งใจจริง

ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณจะควรทำก็คือ ศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจตลาดเสียก่อน เช่น หากคิดจะเปิดร้านขายของชำในหมู่บ้านหรือพื้นที่ไหน ก็ต้องดูว่า คนในพื้นที่นั้นยังต้องการสินค้าประเภทใดบ้าง โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ร้านขายของชำ มินิมาร์ท และร้านสะดวกซื้อทั่วไปมีบริการก็ได้แก่

  • ขนมปัง ขนมปังสอดไส้, แซนด์วิช, กะหรี่ปั๊บ ฯลฯ
  • อาหารแห้ง – ข้าวสาร,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ถั่วและผลไม้อบแห้ง ฯลฯ 
  • เครื่องดื่มสำเร็จรูป ชา, กาแฟ, นมกล่อง, น้ำผลไม้ ฯลฯ
  • เครื่องปรุงอาหาร น้ำปลา, ซอสปรุงรส, ผงชูรส, น้ำตาล ฯลฯ
  • ของใช้ส่วนตัว แป้งฝุ่น, โฟมล้างหน้า, ครีมอาบน้ำ, โลชั่น ฯลฯ
  • น้ำมันเติมรถจักรยานยนต์เบนซิน, E20, แก๊สโซฮอล์

นอกจากนี้ก็ยังมีสินค้าอีกมากมายที่นิยมขายในร้านโชห่วยและมินิมาร์ท เพราะฉะนั้นศึกษาตลาดให้ดีและเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในย่านนั้น ๆ เช่น หากคิดจะเปิดเปิดร้านขายของชำบ้านนอกหรือเปิดในหมูบ้านเล็ก ๆ คุณก็ต้องสังเกตว่าคนในหมู่บ้านจะต้องการสินค้าไหน ซึ่งส่วนมากจะเป็นสินค้าข้าวของเครื่องใช้จำเป็นทั้งนั้น แล้วมีสินค้าอะไรอีกที่คุณจะวางขายเพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน?

บอกเลยว่าแค่รู้จักศึกษาตลาดและเข้าใจความต้องการของลูกค้าในขั้นตอนเริ่มต้น ร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณจะไปได้สวยยิ่งขึ้นแล้ว จำไว้ว่า เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!cool

2. เปิดร้านขายของชำในรูปแบบที่ต้องการ

เปิดร้านขายของชำในรูปแบบที่ต้องการ

ภาพจาก Pixabay

“เปิดร้านขายของชำ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง?”

เราเชื่อว่าผู้ประกอบการมือใหม่กำลังตั้งคำถามนี้กันอยู่ เพราะการเปิดร้านขายของชำถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจดทะเบียนร้านหรือจดทะเบียนพาณิชย์ เพราะคุณต้องคำนึงถึงอนาคตของร้านขายของชำของคุณด้วย แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะคุณสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดร้านค้านี้แบบไหน คุณต้องการเป็นเจ้าของร้านคนเดียว ต้องการเปิดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกันดังนี้ :-

  • กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือ กิจการที่ดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียวทั้งหมด ข้อดีคือ จัดตั้งง่าย เจ้าของมีอิสระในการตัดสินใจ ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการบริหารมาก และสามารถเลิกกิจการได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือ อาจจะขาดความน่าเชื่อถือ หาเงินทุนยาก ไม่มีคนช่วยคิดและวางแผน เสียเปรียบภาษีอากร และก็อาจจะมีข้อจำกัดเมื่อต้องการขยายกิจการ
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ (General Partnership) หรือ (Ordinary Partnership) คือ กิจการที่มีเจ้าของ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว แต่หุ้นส่วนทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบในการชำระหนี้สินร่วมกัน  สามารถเลือกได้ว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบไม่ได้จดทะเบียน ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถฟ้องร้องใครก็ได้เมื่อเกิดคดีความ และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลที่แยกจากหุ้นส่วน หากทรัพย์สินของห้างไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ จะฟ้องร้องในนามของห้างหุ้นส่วนก่อน แล้วค่อยฟ้องร้องในหุ้นส่วนต่อไป
  • หุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องทะเบียน และหากมีการดำเนินการนิติกรรมใด ๆ จะต้องทำในนามของห้างหุ้นส่วน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นกัน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดชอบ คือรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน โดยหุ้นส่วนไม่มีสิทธิ์จัดการห้างหุ้นส่วน สามารถแสดงความคิดเห็นได้เท่านั้น ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วไม่สามารถนำชื่อหุ้นส่วนชนิดจำกัดความรับผิดชอบมาตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน และหากหุ้นส่วนนี้ตายหรือล้มละลาย กิจการก็จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนแบบที่ 2 คือ หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ คือ รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน ต้องมีอย่างน้อย 1 คน ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์จัดการงานของห้างหุ้นส่วน
  • บริษัทจำกัด (Limited Corporation) คือ กิจการที่เกิดจากการร่วมทุนของกลุ่มคนที่ทำธุรกิจร่วมกัน มีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 3 คน ทุนแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่เรียกว่า หุ้น และผู้ถือหุ้นสามารถโอนขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้ ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ และเป้าหมายของกิจการชนิดนี้ก็คือการหากำไรมาแบ่งกัน ข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของคนเดียว บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มในการขายหุ้น ส่วนข้อเสียคือ ขั้นตอนการจัดการค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เงินในการบริหารสูง ความลับเปิดเผยง่าย และอาจต้องจ้างคนนอกบริษัทเข้ามาช่วยงานในบางส่วน

เห็นรูปแบบของการจัดตั้งกิจการแล้วเป็นยังไงกันบ้าง ? ดูแล้วแบบไหนเหมาะกับร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทที่คุณกำลังจะเปิดมากที่สุด ? ยังไงก็อย่าลืมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการประกอบธุรกิจประเภทต่าง ๆ ให้ดีก่อนเปิดร้านขายของชำเป็นของคุณเองล่ะ

3. ศึกษาเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนร้านขายของชำ

ศึกษาเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนร้านขายของชำ

ภาพจาก Unsplash

“ขออนุญาตเปิดร้านขายของชำ ต้องทำอย่างไร?”

หากคุณกำลังวางแผนเปิดร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือว่าร้านสะดวกซื้อ ก็ต้องมีการยื่นเอกสารเพื่อการจดทะเบียนร้านหรือจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า/บุคคลธรรมดา ซึ่งตามหลักของกระทรวงพาณิชย์แล้ว คุณต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ :-

3.1  ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)

1) บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญ

3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย

4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด

5) บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน

3.2  เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์

1) สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านของเจ้าของหรือของผู้จัดการแล้วแต่กรณี

2) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่

3) สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ให้เช่า

4) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่

5) หนังสือมอบอำนาจ/สำเนาบัตรประชาชนประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้สามารถดูเอกสารในการจดทะเบียนพาณิชย์ได้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย! และเมื่อคุณเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ก็จะช่วยให้จดทะเบียนร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อของคุณได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

หมายเหตุ:

  • ในการจดทะเบียนพาณิชย์คุณจะต้องตั้งชื่อร้านไปด้วย
  • หากต้องการขายเหล้าและบุหรี่ในร้านขายของชำ จะต้องจดทะเบียนกรมสรรพสามิตด้วย

จำไว้ว่าเมื่อเอกสารพร้อม คุณก็จะขออนุญาตเปิดร้านขายของชำได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นควรเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อมก่อนขอจดทะเบียนร้านค้าwink

4. ดูว่าต้องใช้เงินทุนในการเปิดร้านขายของชำเท่าไหร่

ดูว่าต้องใช้เงินทุนในการเปิดร้านขายของชำเท่าไหร่

ภาพจาก Pixabay

งบในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้านที่คุณต้องการเปิด เช่น

  • หากไม่มีพื้นที่และต้องก่อสร้างใหม่ทั้งหมด งบเริ่มต้นก็อาจจะอยู่ที่ 100,000 บาท
  • ถ้ามีพื้นที่อยู่แล้ว แค่ต้องจ่ายค่าสินค้าหมุนเวียนในร้าน ตุนสต๊อกสินค้า หรือตู้ทำความเย็นก็อาจจะเริ่มต้นที่ 50,000-80,000 บาท
  • ถ้าต้องเช่าที่และซื้อสินค้ามาหมุนเวียนในร้าน ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 50,000-100,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกทีว่า งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน หากคุณวางแผนเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ และมีพื้นที่อยู่แล้วก็จะใช้งบน้อยหน่อย  แต่ถ้าคิดจะเปิดร้านใหญ่และต้องไปเช่าที่หรือทำร้านใหม่ ก็ต้องมีเงินทุนหนาพอประมาณ

ดังนั้นถ้าจะให้ดีจริง ๆ คุณควรค่อย ๆ ลงทุนเปิดร้านขายของชำตามงบที่มีก่อนจะดีกว่า แล้วถ้าร้านไปได้สวยก็ค่อยขยายกิจการร้านของชำของคุณ จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเจ๊ง ให้ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนสุภาษิตที่ว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม

5. เลือกทำเลที่ดีที่สุดในการเปิดร้านขายของชำ

เลือกทำเลที่ดีที่สุดในการเปิดร้านขายของชำ

ภาพจาก 1 และ 2 จาก Pixabay

นอกเหนือจากการเตรียมตัวและการเตรียมเอกสารในการเปิดร้านขายของชำแล้ว ทำเล ก็เป็นหนึ่งส่วนที่เรียกได้ว่าสำคัญที่สุดในการเปิดร้านที่ว่านี้ นั่นเพราะว่าเมื่อเปิดร้านขายของชำในทำเลที่มีการแข่งขันน้อยแล้ว คุณยิ่งจะเห็นยอดขายเป็นกอบเป็นกำ

และการเลือกทำเลที่ดีที่สุดในการเปิดร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือร้านค้าต่าง ๆ นั้นก็ได้แก่

  • อยู่ในพื้นที่ที่มีคนเดินผ่านทั้งด้านหน้าและด้านหลังร้าน เพื่อให้มองเห็นได้หลายมุมและเพิ่มโอกาสในการขาย
  • ไม่ควรอยู่ในบริเวณทางสามแพร่ง ซึ่งทางโบราณเชื่อว่าเป็นทำเลที่ไม่ดีและตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ทางสามแพร่งถือว่าไม่เป็นมงคลแก่การค้าขาย
  • อยู่ใกล้กับร้านอื่น ไม่ควรอยู่โดด ๆ แต่ควรมีร้านค้าอื่น ๆ อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย และจำไว้ว่าร้านขายของชำของคุณต้องอยู่ในแหล่งที่ผู้คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอย
  • มีที่จอดรถสำหรับลูกค้า อาจจะเป็นที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเป็นที่ที่มีการคมนาคมสะดวกสบายก็ได้ ลองนึกดูว่าถ้าคุณเป็นลูกค้าเองและต้องเดินทางไปร้านที่ไม่มีที่จอดรถ ก็คงจะไม่อยากไปสักเท่าไหร่จริงไหมล่ะ?
  • อยู่ในทำเลที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาจจะเปิดในชุมชน ใกล้โรงเรียน ใกล้มหาลัย หรือพื้นที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก็พอ
  • ขยายพื้นที่ได้ ทำเลที่ดีจะต้องช่วยให้คุณขยายพื้นที่ร้านในอนาคตได้ด้วย เพราะเมื่อร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณไปได้สวย ยังไงคุณก็อยากขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับลูกค้าแน่นอน

นี่เป็นหลักการเลือกทำเลเปิดร้านเบื้องต้น ซึ่งถ้าคุณมีโครงการเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน ก็อาจจะไม่ต้องเครียดเรื่องทำเลร้านมาก และสามารถปรับกลยุทธ์เรื่องทำเลได้ตามความเหมาะสมเพราะมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดแผนผังร้านค้า ความสะอาด และการบริการลูกค้าด้วย

6. เลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ร้านขายของชำอย่างชาญฉลาด

เลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ร้านขายของชำอย่างชาญฉลาด

ภาพจาก Pixabay

หากคิดจะเปิดร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทให้รุ่ง คุณต้องบริหารจัดการร้านได้อย่างลื่นไหล คือ เริ่มจากคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ที่จะจัดส่งสินค้า หรือจะเป็นแหล่งรับซื้อสินค้ามาขายก็ได้ เพราะคุณต้องมีเครือข่ายคู่ค้าที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ ถึงจะเปิดร้านขายของชำได้อย่างสบายใจ

ลองหาร้านขายส่ง แหล่งซื้อสินค้าที่ขายสินค้าราคาเป็นกันเอง หรือเลือกแหล่งขายส่งที่คุณเป็นลูกค้าสมาชิก เพื่อซื้อสินค้าในราคาสมาชิก จะได้ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และยิ่งเมื่อหาซัพพลายเออร์ที่อยู่ใกล้แล้ว คุณก็จะประหยัดค่าเดินทางและค่าขนส่งไปได้อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นลองนำแนวคิดเหล่านี้ไปพิจารณาดู

หากพูดถึงแหล่งค้าส่งที่เจ้าของร้านค้า ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทนิยมไปซื้อสินค้ามาขายต่อในไทย ก็คงจะเป็น

  • Big C
  • Tesco Lotus
  • Makro

นอกจากนี้ในเขตชุมชนก็อาจจะมีร้านขายส่งใกล้เคียงอยู่ก็ได้ ยังไงลองสำรวจพื้นที่ให้ดี แล้วก็เลือกคู่ค้าร้านขายของชำของคุณอีกที แล้วคุณจะรู้ว่าการมีซัพพลายเออร์ที่ไว้ใจได้นั้นสำคัญแค่ไหนในการเปิดร้านขายของชำหรือมินิมาร์ทของคุณ

7. ต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำ

การตั้งราคาสินค้าในร้านขายของชำ

ภาพจาก Unsplash

อีกหนึ่งปัญหาของคนที่เริ่มเปิดร้านขายของชำก็คือ ไม่รู้ว่าควรตั้งราคาสินค้ายังไงถึงจะถูกใจลูกค้า นั่นก็เพราะว่า . …

  • หากคุณตั้งราคาสินค้าต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อกำไรร้าน หรือเผลอ ๆ หากตั้งราคาผิดก็เสี่ยงต่อการขาดทุนไปเลย
  • แต่ถ้าตั้งราคาสูงเกินไป ก็จะขายของไม่ออก ของแพงลูกค้าไม่อยากซื้อ

ดังนั้นทางร้านจะต้องมีกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำที่ดี จึงจะดึงดูดลูกค้าและช่วยให้ร้านขายดีไปพร้อม ๆ กันได้ อีกอย่างร้านคุณเองก็จะไม่เสียเปรียบคู่แข่งร้านอื่น ๆ !

แล้วหลักการในการตั้งราคาสินค้าสำหรับร้านขายของชำเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ? เรารวมเทคนิคการตั้งราคาจากเจ้าของร้านขายของชำที่จะช่วยให้คุณขายดี มีกำไร และเป็นราคาที่ยุติธรรมสำหรับลูกค้ามาไว้เแล้วที่นี่ !

  • ตั้งราคาสินค้าโดยใช้เกณฑ์กำไรที่ 10 – 20% – คิดราคาเพิ่ม 10 – 20% จากราคาทุนสินค้าที่ขายในร้านขายของชำ เพราะอย่าลืมว่าคุณมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ แล้วไหนจะมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก
  • ไม่ควรขายสินค้าบางราคาแพงเกินไป – มีสินค้าบางรายการที่คุณต้องขายตามราคาที่ระบุไว้บนฉลากและไม่สามารถคิดราคาเพิ่มได้ เช่น เหล้า, บุหรี่, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม, เครื่องปรุงรส และการเติมเงินมือถือออนไลน์ เป็นต้น
  • กรณีมีร้านขายของชำร้านอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง – ควรตั้งราคาสินค้าขายในราคาที่ใกล้เคียงกัน ไม่ควรตัดราคากัน เพราะเราก็ต้องเห็นใจผู้ประกอบการด้วยกันด้วย
  • จับคู่สินค้าขายในราคาถูกลง – อันนี้ออกแนวจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น 7-11 ก็มีโปรขายเครื่องดื่มกับขนมปังในราคาที่ถูกลง ช่วยให้ลูกค้าเป็นความคุ้มค่ามากขึ้น ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่น่าลองเช่นกัน

ทั้งนี้สามารถดูตัวอย่างการตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำหรือร้านโชห่วยได้ที่นี่

8. เปิดร้านขายของชำออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป

เปิดร้านขายของชำออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป

ภาพจาก Unsplash

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราและช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากขึ้นนี้ ทำให้ลูกค้าหันมาท่องโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการจะเปิดร้านขายของชำให้ประสบความสำเร็จและขายดีเป็นกอบเป็นกำนั้น คุณจึงต้องมองหาช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นเป็นได้ คือเปิดเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ขายตามโลกโซเชียลอย่าง Facebook, Instagram และ LINE รวมถึงมีบริการเดลิเวอรี่สำหรับลูกค้าพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

ทั้งนี้ยังมีการศึกษาของ Thumbsup พบว่า ผู้ซื้อกว่า 2 ล้านคนยังคงช้อปผ่านเว็บไซต์ของร้านค้าปลีก 50% ของผู้ซื้อของออนไลน์มาจาก Google และยังมีอีก 65% ของผู้ซื้อของผ่านร้านค้าปลีก โดย 25% ซื้อจากหน้าเว็บของร้านโดยตรง และอีก 40% ซื้อจาก Social Network แล้วแบบนี้คุณจะพิจารณาการเปิดร้านขายของชำออนไลน์ได้หรือยัง?

ขอบอกเลยว่าหากคิดจะเข้าถึงลูกค้าในยุคนี้ ร้านขายของชำของคุณต้องมีตัวตนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป

9. ใช้ระบบ POS เครื่องคิดเงินอัจฉริยะในร้านขายของชำ

ใช้ระบบ POS เครื่องคิดเงินอัจฉริยะในร้านขายของชำ

“รู้ไหมว่าปัญหาของร้านขายของชำส่วนใหญ่คือ ขาดการจัดการหน้าร้านและระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพ?”

นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเจ้าของร้านขายของชำ เจ้าของร้านโชห่วย เจ้าของมินิมาร์ท และเจ้าของร้านค้าปลีกถึงเริ่มหันมาใช้ระบบ POS เครื่องคิดเงินอัจฉริยะกันหมดแล้ว เพราะเจ้าระบบนี้สามารถจัดการได้ทั้งหน้าร้านและระบบหลังบ้าน ทั้งยังช่วยให้วางแผนการขายและจัดทำโปรโมชั่นร้านง่ายขึ้น ช่วยใหเการจัดการต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างราบรื่น และเจ้าของร้านก็นำข้อมูลเหล่านี้มาสร้างกลยุทธ์เพิ่มยอดขายให้กับร้านขายของชำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นร้านขายของชำที่มีระบบ POS หรือโปรแกรมขายหน้าร้านนี้จึงมีแนวโน้มขายดีกว่าและทำกำไรได้มากกว่า

หากจะถามหาฟีเจอร์ระบบ POS ร้านของชำที่ช่วยให้การขายสินค้าดียิ่งขึ้นก็ได้แก่

  • ทำงานบนคลาวด์ ระบบ POS ส่วนใหญ่ทำงานบนคลาวด์ (และระบบ POS สโตร์ฮับก็เป็นหนึ่งในนั้น) ช่วยให้เจ้าของร้านขายของชำดูรายงานยอดขายได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องเข้าร้านหรือรอพนักงานปิดร้านก่อน
  • จัดสต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำตัวระบบสามารถตัดสต๊อกสินค้าได้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการซื้อ-ขาย และแจ้งเตือนเมื่อสต๊อกเหลือน้อย คุณจึงจัดสต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมมีสินค้าขายดีพร้อมขายตลอดเวลา อย่าลืมว่าการเปิดร้านขายของชำให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ที่ร้านจะต้องมีสินค้ารองรับความต้องการของลูกค้า
  • ระบุสินค้าขายดีช่วยให้เจ้าของร้านรู้ว่าสินค้าไหนขายดีและนำข้อมูลนั้นมาจัดโปรโมชั่นสินค้าที่ขายไม่ค่อยดี และขายสินค้าคงคลังที่ไม่มีความเคลื่อนไหวได้ในที่สุด
  • ลดค่าใช้จ่าย – เมื่อร้านขายของชำมีระบบ POS ก็จะรู้ความเคลื่อนไหวในร้าน รู้ว่าควรทุ่มเวลาให้กับส่วนไหน ควรสต๊อกสินค้าไหนเพิ่ม ควรลดปริมาณสินค้าไหน หรือว่าควรขยายร้านไปในทิศทางใด ทำให้ร้านลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น

นี่เป็นเพียงฟีเจอร์เบื้องต้นของระบบ POS เท่านั้น ระบบนี้เป็นระบบขายหน้าร้านและระบบหลังบ้านในตัว ถือเป็นอุปกรณ์ร้านขายของชำสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณเชื่อมต่อธุรกิจร้านขายของชำของคุณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งขายของออนไลน์ ฟรี เพิ่มสินค้าใหม่ ทำใบสั่งซื้อกับซัพพลายเออร์ และยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เจ้าของร้านขายของชำที่ใช้ระบบ POS จะทำกำไรได้ดีกว่า ก็เพราะพวกเขามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในทางธุรกิจที่ดีกว่ายังไงล่ะ!cool

ข้อคิดปิดท้ายสำหรับการเปิดร้านขายของชำ

การเปิดร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทที่ขายดิบขายดีและทำกำไรให้คุณได้นั้น คุณจะต้องมีการเริ่มต้นที่ดี คือรู้ว่าความต้องการของตลาดเป็นแบบไหน คุณต้องการเปิดร้านในรูปแบบใด ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการเปิด ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ทำเลที่ดีที่สุดเป็นแบบไหน ต้องมีหลักอะไรในการเลือกซัพพลายเออร์ ต้องตั้งราคาสินค้ายังไง ต้องมีช่องทางการขายไหนบ้างถึงจะเพิ่มโอกาสในการขายได้มากที่สุด และต้องใช้เครื่องคิดเงินหรือโปรแกรมขายหน้าร้าน (ระบบ POS) แบบไหนถึงจะช่วยให้คุณจัดการร้านขายของชำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเมื่อคุณรู้คำตอบของคำถามเหล่านี้แล้ว คุณก็จะเปิดร้านขายของชำให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มเปิดร้านขายของชำของคุณกันเลย! 

StoreHub - ระบบ POS ร้านขายของชำ

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com