และแล้วข่าวดีที่ผู้ประกอบการใน กทม. รอคอยก็มาถึง! เพราะล่าสุดเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เผยหลังประชุมกับคณะผู้บริหาร กทม. ว่า กรุงเทพมหานครเตรียมผ่อนปรนและคลายมาตรการล็อคดาวน์ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่จะสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งรับรอบว่างานนี้ทั้งผู้ประกอบการรายน้อยใหญ่ต่างก็มีเฮกันถ้วนหน้า
อย่างไรก็ตาม แม้ทาง กทม. จะเตรียมผ่อนปรนคลายล็อคดาวน์แล้ว แต่ก็ยังมีมาตรการที่ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามเช่นกัน
ร้านและสถานที่ที่เปิดได้หลังมีการผ่อนปรนหรือปลดล็อคดาวน์ กทม.
แม้ผู้ประกอบการเตรียมเฮกับข่าวคลายล็อคดาวน์กันแล้ว แต่ก็อย่างที่เราคาดการณ์กันไว้ว่าคงไม่มีการเคลื่อนไหวแบบ 100% เต็ม เพราะมีเพียง 8 สถานที่เท่านั้นที่เปิดให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ และร้านกับสถานที่ต่าง ๆ ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ได้แก่
- ร้านอาหาร ร้านอาหารสามารถเปิดให้ลูกค้านั่งทานที่ร้านได้ แต่ทางร้านต้องจัดที่นั่งห่างกันที่ระยะ 1.5 เมตร ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และต้องเปิดตามเวลา พ.ร.ก ฉุกเฉิน ซึ่งก็คือเวลา 22.00 น. – 04.00 น.
- ตลาดและตลาดนัด สามารถขายสินค้าได้ทุกประเภท
- สถานที่ออกกำลังกาย เปิดให้บริการเฉพาะประเภทที่มีระยะห่างกัน ซึ่งรวมถึงศูนย์กีฬาและศูนย์เยาวชนกรุงเทพด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนไปออกกำลังกายได้เฉพาะกีฬาที่ไม่ใกล้ชิดกัน อาทิ เดิน, วิ่ง, สนามแบดมินตัน, เทนนิส และปิงปอง เป็นต้น ส่วนกีฬาประเภททีม เช่น ฟุตบอล, ซอฟต์วอลเลย์บอล, บาสเกตบอล และกีฬาที่ต้องใกล้ชิดกันยังไม่อนุญาตให้เล่นในช่วงนี้
- สวนสาธารณะ สามารถออกกำลังกายและพักผ่อนได้ แต่ห้ามจับกลุ่มสังสรรค์เป็นอันขาด
- ร้านตัดผมและร้านเสริมสวย สามารถตัด สระ และไดร์ ได้เท่านั้น ต้องหยุดทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุก ๆ 2 ชั่วโมง ลูกค้าต้องจองคิวเข้ารับบริการ ห้ามมีการนั่งรอในร้าน ช่างต้องใส่หน้ากากและ Face Shield เพื่อความปลอดภัย
- ร้านตัดขนสัตว์ และคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์ สามารถนำสัตว์เข้าร้านได้ 1 คนต่อ 1 ตัวเท่านั้น และต้องหยุดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ๆ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
- โรงพยาบาล คลินิก และสถานพยาบาล
- สนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อม
มาตรการสำหรับ 8 สถานที่ที่มีการคลายล็อคดาวน์
แม้จะอนุญาตให้เปิดให้บริการ แต่ทั้ง 8 สถานที่จะต้องมีมาตรการที่เคร่งครัดและป้องกันอย่างเข้มงวด ซึ่งได้แก่
- วัดไข้ วัดอุณหภูมิ
- ใส่หน้ากากอนามัย
- ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าร้าน
- จัดระยะห่างระหว่างบุคคลที่ 1.5 – 2 เมตร
และแน่นอนว่าหากร้านไหนไม่ปฏิบัติตามมาตรการเบื้องต้นนี้ จะมีการสั่งปิดทันที ไม่เช่นนั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ก็จะกลับมารุนแรงเป็นแน่
ทั้งนี้ทาง กทม. ได้เสนอมาตรการนี้ต่อรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีการนำเข้าประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครในวันที่ 29 เมษายน เพื่อออกมาตรการเตรียมพร้อมหลังวันที่ 30 เมษายนต่อไป
เพิ่มเติม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ! ขยายเคอร์ฟิวยาวถึง 31 พ.ค. 2563
ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ได้มีมติจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ให้ต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน หรือเคอร์ฟิว ก็ได้มีการประกาศขยายไปอีก 1 เดือนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
นั่นหมายความว่า เคอร์ฟิว จะยาวไปถึง 31 พ.ค. และทุกคนจะต้อง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เช่นเดิม และชาวไทยเราก็ต้องปฏิบัติตาม 4 มาตรการคุมเข้มภายใต้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งก็คือ
- ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร ควบคุมเข้าราชอาณาจักร ทางบก ทางนํ้า และทางอากาศ ขยายการห้ามอากาศยานบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2563 เพื่อลดการนำเชื้อโรคเข้าประเทศ
- ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถาน หรือ เคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถาน ระหว่างเวลา 22.00 น. – 04.00 น.
- งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยไม่มีเหตุจำเป็น
- งดการดำเนินกิจกรรมคนหมู่มาก ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกัน หรือเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดชื้อโควิค-19 เป็นการชั่วคราว
ซึ่งเพื่อให้ไทยของเราควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ให้ได้มากที่สุด เราทุกคนก็ต้องให้ความร่วมมือ ไม่เช่นนั้นที่เราคุมเข้มเฝ้าระวังมาทั้งหมดอาจจะสูญเปล่า
และในระหว่างนี้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านอื่น ๆ ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการและวางแผนเปิด-ปิดร้านเพื่อรองรับลูกค้ากันต่อไป
ยังไม่มีเครื่องมือบริหารจัดการร้าน?
กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนทดลองใช้งานระบบ POS ฟรี 14 วัน ไม่มีค่าใช้จ่าย !
แล้วคุณจะพร้อมให้บริการลูกค้าเมื่อปิดร้านได้อีกครั้ง