คุณเป็นเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าที่กำลังเจอปัญหาในการดูแลหรือว่าจัดการธุรกิจของคุณอยู่หรือเปล่า ?
แล้วคุณอยากประสบความสำเร็จมากแค่ไหน ?
เราเชื่อว่าเจ้าของธุรกิจร้านขายเสื้อผ้าหรือเจ้าของแบรนด์ทุกคนต่างก็มีปัญหาในการดูแลร้านทั้งนั้น แต่ที่สำคัญคือ คุณรู้เท่าทันปัญหาของร้านและมีวิธีรับมือดีแค่ไหน ? เพราะเจ้าของร้านบางคนมักจะละเลยรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็กลายเป็นปัญหาใหญ่จนทำให้ร้านต้องเป๋ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจร้านขายเสื้อผ้าจะใส่ใจในทุกรายละเอียด ไม่นิ่งนอนใจในปัญหา และหาทางแก้ไขจนได้
วันนี้เราเลยพามาดูปัญหายอดฮิตในการจัดการร้านขายเสื้อผ้าที่เจ้าของร้านหลายคนกำลังเผชิญ และแน่นอนว่าเรามีวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้มาฝากด้วย
ถ้าอยากเอาชนะปัญหาและดูแลร้านขายเสื้อผ้าของคุณให้ปัง ไม่พัง และไม่โป๊ะ ก็อ่านได้เลยที่นี่ !
1. ไม่รู้จำนวนสต๊อกสินค้า
แน่นอนว่าเจ้าของร้านอย่างคุณต้องชื่นใจเมื่อขายเสื้อผ้าได้เยอะหรือว่ามียอดขายพุ่งกระฉูดจนต้องเฮ แต่อย่าเพิ่งวางใจไปเพราะร้านของคุณไม่ได้จบแค่ตรงนั้น และร้านที่ขาดการวางแผนกับการบริหารที่ดีจะนำไปสู่ความล้มเหลวได้ ยิ่งเมื่อสินค้าขายดีแล้ว คุณต้องมีการบริหารจัดการสต๊อกให้ดี แน่นอนว่าถ้าลูกค้าอยากได้สินค้า แต่ของขาด คุณก็จะหมดโอกาสขายสินค้านั้นในทันที
และถ้าหากต้องมานั่งนับสต๊อกสินค้าแบบ Manual ก็คงจะไม่ไหว ทั้งยังมีโอกาสผิดพลาดเยอะมาก ทำให้คุณไม่สามารถประเมินสถานการณ์หรือว่าคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้
ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าคุณมีระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพที่สามารถนับสินค้าได้อย่างแม่นยำ แจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมด ให้ร้านของคุณตุนเสื้อผ้าขายดีได้ทันการ หรือถ้าหากมีหลายสาขา ก็สามารถโยกย้ายเสื้อผ้าไปยังสาขาที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ทันที
2. พนักงานโกง
ภาพจาก Pixabay
การเชื่อใจเป็นสิ่งที่ดี แต่คำถามคือ เราจะไว้ใจพนักงานที่เราจ้างได้ดีแค่ไหนกัน เพราะที่จริงแล้วเราไม่ได้รู้จักตัวตนของพวกเขา 100% และจากการศึกษาของเว็บ SheerID ก็พบว่า 75% ของพนักงานขโมยของมากกว่า 1 ครั้ง และ 33% ของธุรกิจปิดตัวลงเพราะพนักงานจอมโกง
ฟังดูแล้วน่าตกใจใช่ไหมละ ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากให้ร้านขายเสื้อผ้าของคุณโดนโกงจนต้องปิดตัวลง ก็ลองหาโปรแกรมขายและระบบหลังร้านที่มีฟีเจอร์บริหารจัดการพนักงานมาใช้งานดู
อย่างระบบ POS สโตร์ฮับก็มีฟีเจอร์บริหารจัดการพนักงานที่คุณสามารถจัดการข้อมูลพนักงาน, ตั้งค่าการเข้าถึงระบบของพนักงาน, เปิด–ปิดกะ, ลงเวลาเข้าและเลิกงาน และยังเห็นความเคลื่อนไหวของร้านได้แบบละเอียดยิบ คราวนี้ไม่ว่าร้านของคุณจะขายเสื้อผ้าชุดไหน หรือว่าขายได้เท่าไหร่ ยอดก็ไม่มีตกหล่นแน่นอน แถมยังไม่ต้องกังวลว่าพนักงานจะโกงเงิน โกงสินค้า หรือโกงเวลาเข้างานอีกต่อไป ถือว่าช่วยลดปัญหาน่าปวดหัวได้ดีเลยละ
3. ใช้สอยพื้นที่ในร้านได้ไม่เต็มที่
รู้หรือไม่ว่าพื้นที่ในร้านมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าไม่น้อย และการตกแต่งร้านก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเช่นกัน เพราะการตกแต่งและจัดสรรพื้นที่ในร้านนั้นเป็นเหมือนการสื่อถึงแบรนด์หรือร้านของคุณเอง แล้วเมื่อคุณใช้สอยพื้นที่ในร้านขายเสื้อผ้าของคุณได้อย่างเต็มที่ ก็จะเพิ่มยอดขายได้ด้วย
ดังนั้นมาลองจัดพื้นที่ทุกส่วนของร้านให้ลูกค้าเห็นภาพอย่างชัดเจน เช่น จัดแสดงคอลเลคชั่นเสื้อผ้าใหม่ ๆ ที่หน้าร้านเพื่อดึงดูดลูกค้าที่เดินผ่านไปมา, มีวิดีโอหรือภาพถ่ายของนางแบบและนายแบบที่ใส่เสื้อผ้าของร้าน, มีหุ่น และป้ายโปรโมชั่น เป็นต้น แล้วก็ต้องมีพื้นที่ให้ลูกค้าเดิน มีห้องลอง และมีกระจกให้ลูกค้าเทียบชุดก่อนตัดสินใจซื้อด้วย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจาก Revel System เกี่ยวกับพื้นที่หรือแผนผังของร้านด้วย โดยระบุว่าเมื่อลูกค้าเข้ามาที่ร้าน ลูกค้ามักจะเดินตามเข็มนาฬิกา นั่นแสดงว่าเสื้อผ้าคอลเลคชั่นใหม่หรือสินค้าขายดีของร้านควรจะอยู่ใกล้กับทางเข้าร้าน แล้วการจัดวางเสื้อผ้ากับเครื่องประดับต่าง ๆ ยังมีผลต่อการเดินชมสินค้าและเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อด้วย
ลองดูสิว่าร้านขายเสื้อผ้าของคุณยังมีพื้นที่ในการจัดวางสินค้าหรือป้ายโปรโมชั่นหรือเปล่า ถ้ายังมีก็เปลี่ยนพื้นที่ตรงนั้นให้น่าสนใจเพื่อเพิ่มยอดขายของร้านคุณได้เลย แต่ ! ! ! . . . อย่าลืมตกแต่งให้เหมาะสม จะได้ไม่ดูรกจนเกินไป
4. ไม่สามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้
ภาพจาก Pixabay
คุณจะรู้ได้ยังไงว่าพนักงานคนไหนตั้งใจทำงานและเอาใจใส่ลูกค้าที่มาช้อปเสื้อผ้าที่ร้านของคุณจริง ๆ ? เพราะบางทีคุณก็ไม่ได้อยู่ร้านตลอดเวลา ทำให้ยากต่อการติดตามการทำงานพนักงาน ซึ่งอาจมีพนักงานบางคนที่ไม่ได้มีใจรักบริการและไม่ได้อยากทำงานให้กับร้านคุณจริง ๆ เผลอ ๆ อาจจะโกงเวลาการทำงาน โดยที่คุณอาจจะรู้ตัวตอนที่เกือบสายไปด้วยซ้ำ
แต่เมื่อคุณมีระบบขายหน้าร้านที่ทรงประสิทธิภาพ คุณจะรู้ข้อมูลนี้ได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว อย่างฟีเจอร์การจัดการพนักงานที่เราได้พูดถึงไปเมื่อกี้นี้ ก็มีฟังก์ชันการติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานและชั่วโมงการทำงาน ให้คุณรู้ว่าพนักงานคนไหนเข้า–ออกงานตอนไหน
เพราะคุณสามารถเช็คการทำงานของพวกเขาได้ง่ายผ่านระบบหลังบ้าน BackOffice แม้จะไม่อยู่ร้านก็อุ่นใจไร้กังวล ทีนี้พนักงานก็โกงไม่ได้ แล้วคุณก็จะมีเวลาวางแผนดูแลร้านขายเสื้อผ้าของคุณมากขึ้น
5. รักษาลูกค้าไว้ไม่ได้
โอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อเสื้อผ้าที่ร้านของคุณนั้นจะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ ?
จะทำยังไงให้พวกเขากลับมาที่ร้านของคุณบ่อยขึ้น ?
ต้องทำยังไงถึงจะรักษาลูกค้าเก่า ๆ ไว้ได้ ?
เราเชื่อว่าเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าหลายร้านกำลังตั้งคำถามแบบนี้อยู่ เพราะในปัจจุบันมีร้านเสื้อผ้าแฟชั่นหญิง–ชายผุดขึ้นมากมาย ทั้งในไอจี, เฟสบุ๊ค, ร้านค้าออนไลน์ แล้วไหนจะร้านค้าออฟไลน์อีก
ซึ่งวิธีเรียกลูกค้าให้กลับมาอีกก็คือ Customer Loyalty Program หรือว่าโปรแกรมสร้างความภักดีของลูกค้านั่นเอง เพราะโปรแกรมนี้จะช่วยให้ร้านขายเสื้อผ้าของคุณมีสมาชิกเพิ่มขึ้นและกลายเป็นลูกค้าประจำในที่สุด นอกจากนี้ยังมีสถิติจาก Smile.io ระบุว่าลูกค้าประจำซื้อสินค้ามากกว่าลูกค้าที่มาร้านเพียงครั้งเดียวมากถึง 30% ทั้งยังช่วยให้ร้านคุณมีรายได้มากขึ้นถึง 3 – 7 เท่าเพียง 1 ครั้ง
โชคดีที่ระบบ POS สโตร์ฮับของเรามีฟีเจอร์ CRM ที่เก็บประวัติลูกค้า, เก็บประวัติการซื้อเสื้อผ้า, ทำโปรโมชั่นให้ตรงใจลูกค้า, ส่ง sms แจ้งเตือนลูกค้า และสร้าง CRM แบบคะแนนสะสมได้อย่างง่ายดายในระบบเดียว ยิ่งเป็นโปรแกรมสร้างความภักดีอย่าง Loyalty Program แล้ว ยิ่งทำได้ง่าย
คราวนี้เมื่อลูกค้าสมัครสมาชิกร้านแล้ว คุณก็ต้องมีรางวัลดึงดูดลูกค้าให้กลับมาช้อปที่ร้านด้วย อาจจะเป็นส่วนลด, คืนเงิน (Cashback), บัตรกำนัล (Gift Voucher) หรือรางวัลในรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้ ขอแค่ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเท่านั้น รับรองว่าคุณจะรักษาลูกค้าไว้ได้และเพิ่มยอดขายของร้านแบบเห็นได้ชัดแน่นอน !
6. ไม่รู้จะเริ่มขายเสื้อผ้าออนไลน์ยังไง
ภาพจาก Picjumbo
รู้หรือไหมว่าคนไทยช้อปออนไลน์มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก และยังใช้มือถือเฉลี่ยวันละ 9 ชั่วโมง 11 นาที ! (ผลการศึกษาของ www.picodi.com) ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซหรือร้านค้าออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วคุณจะสังเกตว่าหลายร้านเริ่มหันมาขายเสื้อผ้าออนไลน์กันแทบทุกร้านแล้ว ถ้าคุณไม่อยากอยู่หลังเกมหรือว่าเสียเปรียบในการขายเสื้อผ้า ก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการขายยุคดิจิตอลนี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีเจ้าของร้านเสื้อผ้าหลายคนที่ไม่ค่อยชินกับเทคโนโลยีและไม่รู้ว่าจะขายเสื้อผ้าสุดโปรดของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ายังไง แต่รู้หรือเปล่าว่าคุณสามารถขายผ่านช่องทางโซเชียลอย่าง Facebook, Line หรือ Instagram ได้เลย
นอกจากนี้ก็อาจจะใช้โปรแกรมขายที่จัดการได้ทั้งหน้าร้านและหลังบ้านอย่างระบบ POS ก็ได้ ซึ่งระบบของสโตร์ฮับเราสามารถช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้นและช่วยให้คุณเปิดร้านค้าออนไลน์ได้เพียงไม่กี่คลิกผ่าน BackOffice โดยที่คุณไม่ต้องเขียนโปรแกรมให้ยุ่งยากหรือเสียค่าธรรมเนียมแพง ๆ อีกต่อไป
เพราะสามารถจัดการร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์ได้ในบัญชีเดียว ทั้งยังแก้ปัญหาการขายเสื้อผ้าเกินสินค้าคงคลังและไม่ต้องเสียเวลาเพิ่มสินค้าไปมาผ่าน 2 ระบบ นั่นก็เพราะ POS ของเราออกแบบมาเพื่อการขายแบบ Omnichannel หรือการขายหลากหลายช่องทางโดยเฉพาะ
7. ไม่ปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์รักษ์โลก
ภาพจาก Pixabay
คุณเคยเก็บข้อมูลการสั่งซื้อกระดาษพิมพ์ใบเสร็จหรือค่าใช้จ่ายในการทำป้ายต่าง ๆ บ้างหรือเปล่า ? แล้วคุณต้องจ่ายมากแค่ไหนในแต่ละครั้ง ? ดังนั้นมาประหยัดเงินในส่วนนี้และลองเปลี่ยนร้านเสื้อผ้าของคุณให้เข้ากับเทรนด์ใหม่มาแรงในการทำธุรกิจกันดีกว่า
และเทรนด์นั้นก็คือ เทรนด์รักษ์โลก เช่น แทนที่จะโปรโมทร้านด้วยใบปลิว ก็ให้ส่งอีเมลไปยังสมาชิกเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและส่วนลด ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก หรือมอบส่วนลดเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับลูกค้าที่นำถุงผ้ามาเอง เป็นต้น เพราะนอกจากร้านของคุณจะทำยอดขายได้แล้ว ยังมีส่วนในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและโลกอีกด้วย
และจากการศึกษาของเว็บ Nielsen ก็พบว่า ผู้บริโภคทั่วโลกสนับสนุนร้านค้าหรือธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม และ 81% ของนักช้อปทั่วโลกเห็นด้วยว่าบริษัททั้งหลายควรมีส่วนช่วยพัฒนาให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ดังนั้นพฤติกรรมการซื้อของนักช้อปในยุคนี้จึงได้เปลี่ยนไปและหันมารักษ์โลกมากขึ้น โดยเฉพาะชาว Millennial, Gen Z และ Gen X
สรุป
หากร้านขายเสื้อผ้าของคุณกำลังเผชิญปัญหายอดฮิตเหล่านี้ ก็ลองนำเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราได้แนะนำไปลองใช้กัน แล้วมาดูว่ายอดขายร้านดีขึ้นมากแค่ไหนและคุณเองจัดการบริหารร้านได้ง่ายขึ้นเพียงใด รับรองว่าคุณจะประสบความสำเร็จในการขายเสื้อผ้าไม่ต่างจากเจ้าของร้านคนอื่นแน่นอน !