ผลสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยโดย Marketeer พบว่าในปีพ.ศ. 2560 มูลค่าการค้าขายออนไลน์เท่ากับ 2.81 พันล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 3.05 พันล้านบาท ในปีพ.ศ. 2561 ซึ่งเติบโตถึง 8% ปีต่อปี ไม่เเปลกใจเลยว่าเมื่อหันไปทางไหนก็พบว่าคนรอบตัวต่างหันมาสร้างแบรนด์ ทำธุรกิจ เปิดกิจการและพยายามเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ยังไม่เข้าสู่การขายสินค้าออนไลน์เพราะกังวลกับ 3 สิ่งต่อไปนี้
มีคนไทยกว่า 11.92 ล้านคน
ช้อปปิ้งออนไลน์และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
1. การสร้างร้านค้าออนไลน์ต้องใช้เวลา
นี่คือสาเหตุหลักที่เจ้าของกิจการส่วนใหญ่ไม่มีเว็บไซต์ร้านค้าเป็นของตัวเอง ก่อนหน้านี้การสร้างร้านค้าออนไลน์อาจจะต้องใช้เวลาในการออกแบบหน้าเว็บไซต์ หาโปรแกรมเมอร์มาเขียนระบบให้ หรือต้องใช้เวลาในการเรียนรู้หากคุณอยากจะออกแบบเอง หากใครพอมีทุนเยอะหน่อยก็อาจจะตัดปัญหาโดยการจ้างให้บริษัททำให้ครบวงจร
ปัจจุบันเจ้าของกิจการมีทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการสร้างเว็บไซต์ ปัจจุบันมีเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ให้บริการในการสร้างเว็บไซต์โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก ไม่ต้องเขียนโปรแกรมให้ยุ่งยาก ไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ อย่างเช่น สโตร์ฮับ www.storehub.com/th/ecommerce ซึ่งเป็นทางเลือกที่ให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าที่ใช้ POS ของสโตร์ฮับอยู่แล้ว ซึ่งระบบของเราได้เชื่อมการทำงานและการจัดการสต๊อกสินค้าในส่วนหน้าร้านและการขายออนไลน์ไว้ในระบบเดียว ทำให้คุณไม่เสียเวลาต้องมาบริหารหลายแพลตฟอร์ม
2. ไม่รู้จะเริ่มยังไง
เจ้าของกิจการหลายท่านอาจจะกังวลเพราะการขายของออนไลน์ยังเป็นเรื่องใหม่ ก็เลยมองว่ายากที่จะสร้างและดูแลเว็บไซต์ เลยกลายเป็นล้มเลิกความคิดไปซะดื้อๆ ซึ่งความจริงแล้วการเริ่มต้นขายของออนไลน์ นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแค่คุณ
- ตั้งชื่อโดเมน ตั้งชื่อโดเมนให้ตรงกับร้านค้า หากชื่อร้านยาวไปก็อาจจะย่อให้กระชับ หรือเพิ่มองค์ประกอบของสินค้าเข้ากับชื่อโดเมน เช่น ขายนาฬิกาก็อาจจะเพิ่มคำว่า Time หรือ Watch พ่วงไปด้วย
- สินค้า เลือกจากสินค้าที่เราขายดีในร้านค้าของเราหรือสินค้าที่มีการซื้อซ้ำบ่อยๆ ชักชวนให้ลูกค้าที่ต้องเดินทางมาซื้อที่ร้านประจำให้ลองสั่งซื้อผ่านออนไลน์เพื่อประหยัดเวลาสำหรับลูกค้าในการเดินทางอีกด้วย
- ราคา ช่วงเปิดร้านค้าออนไลน์ใหม่ ๆ อาจจะมีราคาพิเศษเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์มากขึ้น หรือโค้ดส่วนลดพิเศษสำหรับการแนะนำให้เพื่อนเข้ามาซื้อสินค้าที่ร้านเพิ่มเติม
- ช่องทางการขาย การขายผ่านโซเชียลมีเดียค่อนข้างเป็นที่นิยมแต่ข้อเสียก็คือยังต้องอาศัยแรงงานคนในการตอบคำถามให้ข้อมูลสินค้า การคอนเฟิร์มการซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาทำงานของแอดมิน แต่สำหรับเว็บไซต์ คุณสามารถปล่อยให้เว็บไซต์ทำหน้าที่ในการขายให้คุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องมานั่งคอยตอบคำถามหรือคอนเฟิร์มให้ยุ่งยาก
- แผนการตลาด ข้อนี้สำคัญที่สุดสมัยนี้โพสต์ขายอย่างเดียวไม่พอแล้ว เราต้องรู้จักโปรโมทร้านค้าหรือสินค้าด้วยการโฆษณาผ่านดิจิตอลเพื่อทำให้ลูกค้าเห็นสินค้าเราได้ไวขึ้น แต่ถ้าหากคุณมีร้านค้าอยู่แล้วคุณยังสามารถโปรโมทจากหน้าร้าน หรือใช้ฐานลูกค้าที่มีอยู่ในการโฆษณาเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย
3. ค่าใช้จ่ายสูง
ไม่จริงเสมอไปเพราะในความเป็นจริงแล้วการขายของออนไลน์ประหยัดกว่าการขายของหน้าร้านด้วยซ้ำไป ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่าตกแต่งร้าน ค่าซ่อมบำรุงและอื่นๆอีกมากมาย ถ้าให้พูดกันตามความจริงแล้วการขายของออนไลน์ถูกกว่าด้วยซ้ำไป ซึ่งสิ่งที่คุณต้องจ่ายก็อาจจะมีแค่
- ค่าลงทะเบียนโดเมน 255 – 600 บาทต่อปี
- ค่าเว็บโฮลติ้ง ประมาณ 1,000 ต่อปี
- ค่าติดตั้งแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
- ค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัททำเว็บไซต์
แต่นี่ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะว่ายังมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีกมากมายก็ให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ฟรี มีเทมเพลต (Template) สำเร็จรูปมาให้ เพียงแค่คุณอัปโหลดรูปสินค้าและโลโก้ร้าน คุณก็สามารถเริ่มใช้ได้เลย อย่างที่สโตร์ฮับเองคุณก็สามารถสร้างเว็บไซต์และเปิดร้านค้าออนไลน์กับสโตร์ฮับได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
คุณเคยได้ยินประโยคนี้กันไหม ? “ความกังวล เป็นสิ่งที่เราตั้งขึ้นมาเอง” เข้า www.storehub.com/th/ecommerce แล้วเปิดใช้งานร้านค้าออนไลน์และเริ่มสร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้เลย เเล้วคุณจะพบว่า “อ๋อ เเค่นี้เองนะหรอ” เพราะการขายของออนไลน์ไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด