หลังจากที่สโตร์ฮับของเราจัดไลฟ์สด Webinar สัมนาออนไลน์ไปครั้งแรก เราก็ได้รับฟีดแบ็คกลับมาอย่างล้นหลามและหลายคนก็มีการขอให้เราจัดเป็นครั้งที่ 2 เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น
แต่ระหว่างรอ ผู้ประกอบการร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มสามารถรับชมวิดีโอไลฟ์สดของเราฉบับเต็มหรือลองดูหัวข้อย่อยที่เราแยกมาให้ดูกันเป็นข้อ ๆ ด้านล่างนี้ได้เลย
หัวข้อสำคัญ
- ดูวิดีโอเต็มมาตรการคลายล็อกดาวน์ COVID-19: เพิ่มยอดขายร้านอาหารยุค New Normal ยังไงให้รอด?!
- ผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์ COVID-19 และผ่อนปรนต่อผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในไทย
- การเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- วิธีช่วยให้ลูกค้าหาคุณเจอง่ายขึ้นในโลกออนไลน์
- วิธีสร้างแรงจูงใจในการซื้อสำหรับลูกค้าร้านอาหาร
- การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกค้าสำหรับร้านอาหารยุค New Normal
ดูวิดีโอเต็มของไลฟ์สด Webinar ในหัวข้อมาตรการคลายล็อกดาวน์ COVID-19: เพิ่มยอดขายร้านอาหารยุค New Normal ยังไงให้รอด?!
มาตรการล็อกดาวน์ COVID-19 และมาตรการผ่อนปรน ส่งผลกระทบอะไรต่อผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในไทยบ้าง ?
แนะนำผู้บรรยาย
คุณปอนด์และคุณอาร์ตแนะนำตัว
- คุณปอนด์ – ทิพยวุฒิ โกวรรธนะกุล กรรมการผู้จัดการ สโตร์ฮับ
- คุณอาร์ต – ณัฐชา เจริญศรี หัวหน้าฝ่ายดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง สโตร์ฮับ
ทำไมเราถึงจัดไลฟ์ Webinar ครั้งนี้ขึ้นมา ?
คุณอาร์ตพูดถึงเหตุผลที่เราจัดไลฟ์สด Webinar
วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องร้านอาหารในช่วงหลังโควิดกัน จริง ๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อน แต่ละร้านก็จะมีเทคนิคออฟไลน์กันอยู่แล้วว่าทำยังไงให้ขายดี ทำเมนูยังไงให้ขายได้ จัดร้านยังไง แต่ว่าเหตุผลที่มีไลฟ์นี้ขึ้นมาก็เพราะว่าร้านค้าตอนนี้เขาเปลี่ยนวิธีการจัดการร้าน เราก็เลยรู้สึกว่ามีคำถามเข้ามาเยอะมาก เพราะว่าบางร้านก็ไม่เคยต้องมาทำออนไลน์กัน ตอนนี้ก็เลยมีคำถามเยอะมากว่า
“ทำเดลิเวอรี่แล้ว ทำอะไรก็แล้ว แต่ก็ไม่รู้จะไปต่อยังไง ทำเดลิเวอรี่ไปแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้คนมาซื้อของในเดลิเวอรี่อันนั้น”
พอมีคำถามแบบนี้ขึ้นมา ทางมาร์เก็ตติ้งก็เลยรู้สึกว่าเอาประเด็นนี้มาทำเป็นไลฟ์เลยดีกว่าครับ เพื่อที่ในอนาคตลูกค้ามีคำถามเดิม เราสามารถแชร์ให้ลูกค้าดูได้ หรือใครที่เข้ามาดูวิดีโอ Webinar ของเราก็สามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ ที่เปิดร้านอาหารได้เหมือนกัน เราก็เลยทำไลฟ์กันขึ้นมา
ใน Webinar ครั้งนี้ เราพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ?
เกริ่นนำก่อนเข้าประเด็นสำคัญของ Webinar
ในวิดีโอไลฟ์สดของเราเมื่อกี้ เราได้เชิญคุณปอนด์กับคุณอาร์ตมาพูดคุยกันในหัวข้อ “คลายล็อกดาวน์ COVID-19: เพิ่มยอดขายร้านอาหารยุค New Normal ยังไงให้รอด?!” ซึ่งไอเดียหลักก็คือ เราจะกระตุ้นยอดขายของร้านอาหารได้ยังไงในในช่วง New Normal นี้ ?
New Normal คืออะไร ?
New Normal คือวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ของร้านอาหารและลูกค้า ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการปรับตัวและปรับรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) เราจะเห็นคำว่า New Normal กันมากขึ้น ทั้งในส่วนของสื่อโฆษณาหรือว่าข่าวเอง และคำนี้ก็กลายเป็นคำใหม่ที่เราคุ้นชินกันในชีวิตประจำวันกันไปแล้ว
ทั้งนี้ New Normal ของร้านอาหารก็อาจจะแบ่งเป็น “ในร้าน” กับ “นอกร้าน” โดยในส่วนของภายในร้านก็จะมีการเช็คอิน จำกัดจำนวนคน และการทำความสะอาด ส่วนนอกร้านที่ผู้ประกอบการร้านอาหารมีการตื่นตัวกันมากขึ้นก็คือ การสั่งอาหารออนไลน์ การส่งอาหารเดลิเวอรี่ หรือ Food Delivery อย่างเราที่ยังทำงานกันที่บ้านหรือ Work From Home ก็สั่งอาหารออนไลน์มาทานกันอยู่แล้ว และนี่ก็คือ New Normal สำหรับร้านอาหารและลูกค้า
แต่คำถามคือ “มีเดลิเวอรี่แล้ว แต่ไม่มีคนซื้อ ทำยังไง?” เพราะแต่ก่อนที่ยังมีหน้าร้านยังง่าย ทางร้านสามารถ ถ่ายหน้าร้านสวย ๆ พร้อมอาหารอร่อย ๆ และให้ลูกค้ามาชิมอาหารที่ร้านได้ แต่ New Normal ต่างกันออกไปแล้ว คนไม่สามารถ Walk-in ได้ (ถึง Walk-in ได้ก็ไม่สามารถรองรับลูกค้าได้เท่าเดิม) ดังนั้นการทำให้ลูกค้ารู้จักเดลิเวอรี่ของร้านอาหารก็เลยสำคัญมาก วันนี้เราเลยมีหัวข้อย่อยมาบอกกัน คือ
- การเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- วิธีช่วยให้ลูกค้าหาคุณเจอง่ายขึ้นในโลกออนไลน์
- การสร้างแรงจูงใจในการซื้อ
- การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกค้าสำหรับร้านอาหารยุค New Normal
แล้วทำไมจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่านี้?
นั่นก็เพราะสโตร์ฮับของเราสังเกตเห็นว่า การซื้อของออนไลน์และบริการ Food Delivery เติบโตขึ้นกว่า 30% ตั้งแต่มีการประกาศล็อกดาวน์เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วก็ยังมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นไปอีก อีกอย่างพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าก็จะเปลี่ยนไป แม้สถานการณ์ COVID-19 จะดีขึ้นแล้วก็ตาม
เพราะฉะนั้นมาเริ่มกันเลย !
การเข้าถึงลูกค้าร้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยข้อความสุดง่ายบน SMS, LINE, Facebook และ Instagram
คุณควรใส่ข้อมูลอะไรลงไปในข้อความ SMS และ LINE เมื่อส่งเมสเสจหาลูกค้าร้านอาหาร ?
พี่อาร์ตพูดถึงการทำการตลาดผ่านข้อความ SMS, LINE และ Social Media
หากเพิ่งเริ่มทำการตลาดสำหรับร้านอาหาร ควรเริ่มจากวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและง่ายที่สุดคือ Text Message ผ่าน SMS กับ LINE โดยสำหรับ SMS ทางร้านอาหารจะต้องมีเบอร์โทรศัพท์ลูกค้าก่อน ดังนั้นทางร้านจะต้องเริ่มจากเก็บข้อมูลลูกค้า ส่วน Social Media เราอยากให้เริ่มจาก Facebook กับ Instagram ที่แอ้ดว๊านซ์ขึ้นมาหน่อยก็จะเป็น Google My Business
หากจะเริ่มส่งข้อความ SMS หรือ LINE Broadcast เราแนะนำให้
ส่งข้อความแจ้งลูกค้าว่าคุณมีหน้าร้านออนไลน์! โดยเฉพาะเมื่อมีบริการ Food Delivery
- ใส่ลิงก์สั่งอาหารออนไลน์ที่ลูกค้าซื้อได้ทันที เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
- กระตุ้นลูกค้าให้คลิกด้วย CTA (Call-to-action) เช่น “สั่งตอนนี้”, “สั่งวันนี้”, “ฮอตโปรโม” ใส่ไทม์ไลน์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ
- ใส่อีโมจิ เพื่อให้ดูน่าสนใจและเป็นกันเองมากขึ้น เพราะไม่สามารถพูดคุยหรือ Interact กับลูกค้าได้โดยตรง อีโมจิจึงช่วยให้ข้อความดูเฟรนด์ลี่และน่าอ่านมากขึ้น อย่าลืมใช้ภาษาที่เป็นกันเองด้วย
เคล็ดลับ:
- ไม่ว่าอาหารและเครื่องดื่มที่ร้านจะราคาเท่าไหร่ แต่เจ้าของร้านอาหารสามารถทำให้ร้านดูเข้าถึงง่ายด้วยข้อความแบบ Personalised ให้แมทช์กับลูกค้าที่สุด จะช่วยให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความพิเศษและเป็นกันเองจากทางร้านมากยิ่งขึ้น
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการส่งข้อความ SMS หรือ LINE หาลูกค้าควรเป็นช่วงเวลาก่อนมื้ออาหาร (แต่ไม่ควรส่งไปรบกวนเวลาพักผ่อนของลูกค้า)
ใส่ลิงก์ร้านค้า/เว็บสั่งอาหารออนไลน์บน Social Media ของร้านเพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
มาดูว่าทำไมคุณถึงจำเป็นต้องใส่ลิงก์ร้านค้า/เว็บสั่งอาหารออนไลน์บน Social Media ของร้าน
หากร้านอาหารของคุณเพิ่งเริ่มใช้ Social Media ก็ต้องแนะนำไอจีกับเฟสบุ๊คอยู่แล้ว ซึ่งควรใส่ลิงก์ของเราที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ทันที ใส่เข้าไปในโปรไฟล์ไอจีและเฟสบุ๊คเพื่อให้ลูกค้าเห็นแล้ว คลิกได้ และซื้อได้ทันที ทั้งนี้ทางร้านจะมีลิงก์สองแบบคือ ลิงก์ซื้อของกับลิงก์ข้อมูล แนะนำให้ใส่ลิงก์ช้อปออนไลน์หรือสั่งอาหารออนไลน์ เพื่อให้เกิดการสั่งซื้อทันที ให้ร้านสามารถขายได้ ณ ตรงนั้น
ในส่วนของเพจ Facebook ด้านขวามือจะมีช่องใส่เว็บไซต์เหมือนกัน ในกรณีที่เพิ่งมีเว็บไซต์สั่งอาหารออนไลน์ของร้านและยังไม่เป็นที่จดจำสำหรับลูกค้า แนะนำให้ใส่ลิงก์ในรูปภาพใน Facebook ด้วย (สามารถดูตัวอย่างได้ในวิดีโอหรือภาพด้านล่าง) ที่สำคัญที่สุดคือ ลิงก์ไม่ควรยาว ตั้งให้สั้นและจำง่ายเข้าไว้
เพราะจริง ๆ แล้วเรามองว่า Social Media เป็นพื้นที่ในการค้าขาย เวลาเราโพสต์ จึงควรมีลิงก์ที่ลูกค้าคลิกเข้าไปซื้อได้เลย เพราะบางทีให้แอดไลน์ร้าน ชื่อร้านอาจจะคล้ายกับร้านอื่นทำให้ลูกค้าแอดหรือทักผิดก็มี เพราะฉะนั้นให้คิดว่า Social Media อย่าง IG และ Facebook เป็นหน้าร้านอีกที่หนึ่งเพื่อสื่อสารกับลูกค้าและขายสินค้าได้ทันที ทั้งยังช่วยให้ลูกค้าสัมผัสตัวตนเราได้ผ่านข้อความ/ข้อมูลบนเพจด้วย
โชว์ขั้นตอนการสั่งอาหาร ให้ลูกค้าเห็นว่าสั่งง่าย สะดวก และรวดเร็ว
เหตุผลที่ร้านอาหารควรโพสต์ขั้นตอนการสั่งอาหารบน Social Media
ร้านอาหารที่ขายเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่ขายหลายช่องทางและเปิดให้ลูกค้าสั่งได้หลายช่องทาง แต่ละช่องทางอาจจะมีวิธีการสั่งซื้อที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นร้านอาหารควรแสดงขั้นตอนการสั่งอาหารของแต่ละช่องทางให้ชัดเจน เพื่อสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ และเห็นว่าการสั่งอาหารออนไลน์หรือ Food Delivery จากร้านคุณง่าย สะดวก และรวดเร็ว เช่น ในแคปชั่นเขียนให้ชัดเจนไปเลยว่า “สั่งอาหารเดลิเวอรี่ที่ร้าน XXX ง่ายนิดเดียวแค่ 1, 2, 3” เขียนโน้มน้าวให้ดูว่าง่ายและใช้ภาพประกอบแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพยิ่งขึ้น
เคล็ดลับ:
- หนึ่งภาพสำหรับแต่ละขั้นตอน
- แจ้งลิงก์สั่งอาหารออนไลน์ของคุณ
- มีตัวเลือกสำหรับทั้งการจัดส่งและรับสินค้าเอง
- มีตัวเลือกการชำระเงินที่สะดวกสบายสำหรับลูกค้า
วิธีช่วยให้ลูกค้าหาคุณเจอง่ายขึ้นในโลกออนไลน์
บอกต่อช่องทางสั่งอาหารออนไลน์หรือ Food Delivery ผ่าน Social Media
วิธีช่วยให้ลูกค้าหาร้านอาหารของคุณเจอง่ายขึ้นในโลกออนไลน์
ในส่วนนี้เราจะมาลงรายละเอียดวิธีการเข้าถึงลูกค้าและการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ของร้าน ให้ลูกค้าจดจำร้านอาหารของคุณง่ายขึ้นผ่าน Social Media และ Google (Google My Business)
เริ่มจาก Social Media เพราะง่ายต่อการแชร์ อันดับแรก รูปควรเป็นรูปที่สวยที่สุด ให้อาหารน่ากินที่สุด ข้อความบนรูปไม่ต้องเยอะ เพราะลูกค้ามักทานอาหารผ่านสายตาก่อนได้ทานของจริงเสมอ และรูปอาหารก็เป็นส่วนในการตัดสินใจสั่งซื้อของลูกค้า ดังนั้นไม่ว่าร้านจะดี หรืออาหารจะอร่อยแค่ไหน ถ้ารูปไม่สวย ลูกค้าก็จะไม่สั่ง
ดังนั้นเมื่อมีช่องทางสั่งอาหารออนไลน์หรือ Food Delivery ของร้านก็ควรแจ้งลูกค้าผ่าน Facebook, IG (และ LINE) ของร้านให้ครบทุกช่องทาง
เคล็ดลับ:
- รูปต้องสวย ดูมีเรื่องราว
- แคปชั่นไม่ควรใส่ลิงก์เยอะเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกค้าสับสน
- ควรใส่ Call-to-action แค่ลิงก์เดียว หรือถ้าต้องการใส่หลายลิงก์ก็ต้องระบุให้ลูกค้ารู้ว่าแต่ละลิงก์เป็นลิงก์ของอะไร
- 3 บรรทัดแรกของแคปชั่นสำคัญที่สุด ควรใส่ลิงก์สั่งอาหารและข้อมูลสำคัญ
- ใส่แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องในโพสต์ไอจีร้านทุกครั้ง เพราะลูกค้ามักจะค้นหาด้วยแฮชแท็ก
- เช็คอินร้านทุกครั้งที่โพสต์
- ประกาศช่องทางการสั่งอาหารต้องบอกให้ชัดพร้อมลิงก์ เช่น สั่งได้ที่ไหน เมื่อไหร่ เพราะหากเปิดขายออนไลน์แล้วไม่แจ้งลูกค้าก็เหมือนกับการเปิดร้านแต่ไม่บอกใคร
โพสต์ภาพ วิดีโอ หรือคอนเทนต์บน Social Media อย่างสม่ำเสมอ
อีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการเข้าถึงลูกค้าบน Social Media คือการโพสต์อย่างสม่ำเสมอ
บน Facebook กับ IG จะมีข้อมูลหลังบ้านที่เรียกว่า “Insight” หรือ “ข้อมูลเชิงลึก” ซึ่งเจ้าของเพจเองจะรู้ว่าควรโพสต์วันไหน เมื่อไหร่ แต่สำหรับร้านที่เพิ่งทำเพจร้านอาหารหรือมีไอจีร้าน เราแนะนำให้โพสต์ทุกวันไปก่อนในช่วง 2 อาทิตย์แรก เมื่อสามารถดู Insight บนเพจได้แล้ว ก็ค่อยวางแผนโพสต์ตามช่วงเวลาที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายออนไลน์เยอะที่สุด หลังช่วง 2 อาทิตย์แรกผ่านไปแล้ว ถ้าไม่มีเวลาโพสต์ทุกวัน ก็ควรโพสต์อย่างน้อย 3 ครั้ง/อาทิตย์อย่างสม่ำเสมอ
เคล็ดลับ:
- โพสต์บน Social Media ทั้ง Facebook, IG, LINE
- ความถี่ในการโพสต์ควรอยู่ที่ 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ และโพสต์อย่างสม่ำเสมอ
- ในช่วงแรกที่ทำเพจก็อาจจะต้องขอให้เพื่อน ๆ ช่วยกดไลค์กดแชร์และบอกต่อกัน
- ส่วนเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการโพสต์ สามารถดูได้ที่ Facebook Page Insights หรือ “ข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย” ของตัวเพจเองได้เลย
ไอจีสตอรี่ คือ อีกหนึ่งช่องทางที่คุณบอกต่อเรื่องราวดี ๆ และให้ข้อมูลลูกค้าได้
Instagram Story หรือไอจีสตอรี่ ช่องทางการบอกเรื่องราวดี ๆ อย่างสร้างสรรค์ของร้านอาหาร
ไอจีสตอรี่ (Instagram Story) คืออีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ โดยไอจีสตอรี่จะมีอายุแค่ 24 ชั่วโมง ซึ่งข้อดีคือ ในหนึ่งวันร้านอาหารสามารถโพสต์ได้หลายสตอรี่ ให้ลูกค้าเห็นว่าเรามีความเคลื่อนไหว สามารถโพสต์ได้ทั้ง
- อาหาร
- เครื่องดื่ม
- เมนูเด็ด
- โชว์การทำเมนูดังของร้าน
- วิธีสั่งอาหาร
- โพสต์รีวิว
- รีโพสต์ที่ลูกค้าแท็กบนไอจี
ช่องทางนี้ไม่จำเป็นต้องเน้นขายเพียงอย่างเดียว เรามองว่าไอจีสตอรี่เป็นหนึ่งช่องทางการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ดังนั้นให้โพสต์สิ่งที่จะช่วยให้ลูกค้า Interact กับทางร้าน ทั้งการกด React หรือส่งข้อความ ยิ่งลูกค้า React กับโพสต์ร้านมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นสัญญาณที่ดีและทางร้านก็สามารถต่อยอดจากตรงนี้ได้
(ที่สำคัญคือ ร้านอาหารสามารถใช้ช่องทางไอจีสตอรี่นี้เพิ่มยอดขายร้านอาหารได้ง่าย ๆ ด้วยการโปรโมทเดลิเวอรี่หรือช่องทางการสั่งอาหารออนไลน์ของร้าน และโพสต์อย่างสม่ำเสมอ)
อัปเดตเว็บไซต์และข้อมูลร้านบน Google My Business
Google My Business ช่วยให้ลูกค้าร้านอาหารค้นหาและเข้าถึงคุณได้ง่ายขึ้นบน Google
Google My Business คืออีกหนึ่งช่องทางที่ร้านอาหารสามารถโปรโมทร้าน เมนู และบริการต่าง ๆ ได้แบบฟรี ๆ แต่ทางร้านจะต้องเคลมร้านบน Google My Business ตั้งค่าบัญชี และอัปเดตข้อมูลให้ครบทั้ง
- ชื่อร้าน
- ที่อยู่
- เว็บไซต์
- เวลาทำการ
- เบอร์โทรศัพท์
- สินค้า/อาหารที่ให้บริการ
- ภาพอาหาร, บรรยากาศร้าน
แล้วทำไม Google My Business ถึงสำคัญ ?
นั่นก็เพราะว่าคนไทยมักจะ Search หรือค้นหาร้านก่อนสั่งอาหารมาทาน เช่น ร้านอาหารใกล้ฉัน, ร้านซูชิ สะพานควาย และชาบู เดลิเวอรี่ ใกล้ฉัน เป็นต้น เมื่อคุณใส่คีย์เวิร์ดที่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าค้นหา โอกาสที่ลูกค้าจะค้นเจอร้านและใช้บริการร้านก็จะยิ่งมากขึ้น อีกอย่าง ในช่วง COVID-19 ลูกค้าอาจจะค้นหาก่อนว่าร้านไหนเปิด-ไม่เปิด เมื่อค้นใน Google ก็จะมีรายชื่อร้านขึ้นมาพร้อมข้อมูลที่ว่านี้ ดังนั้นจึงควรอัปเดตข้อมูลร้านให้ครบ
เคล็ดลับ:
- ในส่วนของเว็บไซต์บน Google My Business สามารถใส่เป็น URL ลิงก์ร้านค้าออนไลน์/ลิงก์สั่งอาหารออนไลน์ เช่น Beepit.com เพื่อให้ลูกค้าคลิกดูเมนูได้ง่ายขึ้นและสั่งซื้อได้เร็วขึ้น เป็นการมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า
วิธีสร้างแรงจูงใจในการซื้อสำหรับลูกค้าร้านอาหาร
การจัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้า พร้อมมีเรื่องราวที่ช่วยให้อาหารและเครื่องดื่มของร้านดูน่าทานยิ่งขึ้น
แนวทางการจัดโปรโมชั่นสำหรับร้านอาหารที่เพิ่งมีบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ (Food Delivery)
เราสังเกตได้ว่าร้านอาหารส่วนใหญ่ที่เพิ่งเปิดให้บริการ Food Delivery มักจะมีปัญหาคล้าย ๆ กันคือ ไม่รู้ว่าจะดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อสินค้าและบริการยังไง ซึ่งในส่วนของโปรโมชั่นจะเป็นเหมือนส่วนผลักดันให้ลูกค้าซื้อมากกว่า ซึ่งในฐานะผู้บริโภคอย่างเราเองก็มักจะจ่ายให้กับโปรโมชั่นสินค้าลดราคาหรือแพ็คเกจอาหาร แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกโปรโมชั่น ดังนั้นทางร้านอาจจะวางแผนโปรให้ดูมีชั้นเชิงสักหน่อย คือต้องเป็นโปรโมชั่นที่ดึงดูดและมีเรื่องราวสักหน่อย เพื่อสร้างมูลค่าให้อาหารและเครื่องดื่มของร้านดูโดดเด่นยิ่งขึ้นในสายตาลูกค้า หรือไม่ก็ควรให้ความสำคัญกับรูป เพื่อให้อาหารและเครื่องดื่มของร้านน่าทานมาก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ :-
- กระตุ้นให้ลูกค้าสั่งด้วยเมนูสวย ๆ ภาพคมชัด น่ากิน เพราะลูกค้ากินอาหารด้วยตาก่อน ยิ่งภาพดูดีเท่าไหร่ ยิ่งมีสิทธิ์ขายมากเท่านั้น แนะนำให้ถ่ายภาพอาหารจริงให้ออกมาสวย
- จัดการวางเมนูบนเว็บสั่งอาหารออนไลน์ให้ดี เช่น จัดหมวดหมู่สินค้าขายดี, เมนูน่าลอง, เมนูแนะนำ, เซ็ตคอมโบ, อาหารเรียกน้ำย่อย, อาหารจากหลัก, เครื่องดื่ม และของหวาน จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจสั่งง่ายขึ้น เพราะลูกค้าบางคนหิวแต่ไม่รู้จะกินอะไร พอเห็นเมนูที่ทางร้านแนะนำ ก็มีโอกาสตัดสินใจลอง
- ในแต่ละหัวข้อ ควรมีตัวเลือกเมนูอาหารให้ลูกค้าสัก 8-10 อย่าง ไม่ควรใส่เมนูเยอะเกินไป เพราะลูกค้าอาจจะมีเวลาคิดและตัดสินใจไม่ได้
- อย่าลืมใส่รูปเมนูแต่ละอัน! แต่ละเมนูสามารถอัปโหลดได้มากกว่า 1 ภาพ
เคล็ดลับ:
- ร้านอาหารควรให้ความสำคัญกับรูป เพราะบางคนเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ ไม่เคยทานอาหารร้านมาก่อน ถ้าภาพสวยและลูกค้ารู้ว่าหน้าตาแต่ละเมนูเป็นยังไง ก็จะตัดสินใจง่ายขึ้น
คิดนอกกรอบ – ขายเป็นชุด/เซ็ตคอมโบ/เซ็ตกักตัว อีกหนึ่งโปรโมที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อ
ไอเดียการจัดเซ็ตเมนูอาหารออนไลน์ที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้าและร้านอาหาร
อีกหนึ่งส่วนของการกระตุ้นยอดขายและสร้าง Margin หรือกำไรร้านอาหารให้ได้มากขึ้นในช่วง COVID-19 และ New Normal ก็คือ การขายเป็นชุดหรือเซ็ตคอมโบ เช่น แต่ก่อนลูกค้าเข้ามาที่ร้านก็อาจจะสั่งแค่ผัดกระเพรา แต่หากเห็นเซ็ตที่มีเครื่องดื่มและของหวานมาพร้อมผัดกระเพา ในราคาที่ดูคุ้มค่ากว่า ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะสั่งเซ็ตมากกว่า
ซึ่งตัวอย่างของการจัดคอมโบหรือขายเซ็ตอาหารราคาพิเศษที่เพิ่มยอดสั่งซื้อของลูกค้าที่เรามักจะเห็นกันก็คือ ชุดไก่จัดใหญ่ KFC หรือ Family Set ของ McDonald’s เพราะการขายเป็นชุดจะดู “คุ้มค่า” หรือ ไม่ต้องคิดมาก สำหรับฝั่งลูกค้า ดังนั้นลองจับคู่หรือเลือกอาหารกับเครื่องดื่มที่จะขายยกชุด เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าสั่งซื้ออาหารมากขึ้น
เซ็ตคอมโบที่เราอยากแนะนำสำหรับร้านที่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี:
- เซ็ตมาตราฐาน: อาหาร + เครื่องดื่ม จะเจอบ่อยในพวกเซตอาหารกลางวัน ค่อนข้างเป็นที่นิยมสำหรับพนักงานออฟฟิศ ถ้าร้านอยู่ในละแวกที่มีออฟฟิศเยอะ ๆ อาจจะลองใส่เพิ่มดู
- เซ็ตคู่ 2 คน/ ครอบครัว (สำหรับ 4/6/8 คน) เป็นการสร้างสตอรี่ ไกด์ลูกค้า และช่วยประหยัดเวลาในการสั่งอาหารของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ทางร้านอาหารก็อาจจะมีเซ็ตครบจบหมดในเซ็ตเดียว: อาหาร + เครื่องดื่ม + ของหวาน บางร้านไม่มีของหวาน อาจจะลองหาข้อมูลการทำเพิ่มเติม ลองหาของหวานที่ติดเทรนด์และทำง่ายมาใส่ในเซ็ตเพื่อสร้างจุดเด่นให้ร้านและดึงดูดลูกค้ามากขึ้นไปอีก
เคล็ดลับ:
- ตั้งชื่อเซ็ตอาหารเพื่อไกด์ลูกค้า เช่น เซ็ตแก๊งค์พนักงานออฟฟิศ, เซ็ตปาร์ตี้วันศุกร์
- เมนูพิเศษ DIY จากโตเกียวถุงละ 45 -60 บาท ขายให้ทำเอง 199 บาทขึ้น
- ไม่จำเป็นต้องขายอาหารอย่างเดียว เพิ่มการขายวัตถุดิบในการทำอาหารได้ด้วย
จัดโปรส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อตามขั้นต่ำของร้านเพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อ
ข้อดีของการจัดโปรโมชั่นส่งฟรีที่ร้านอาหารควรพิจารณา
อีกวิธีที่กระตุ้นให้ลูกค้าสั่งซื้อจากเราก็คือ การจัดโปรส่งฟรีเมื่อสั่งครบตามขั้นต่ำของร้าน เช่น จัดส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อครบ 699 บาท หรือจัดส่งฟรีภายใน 5 กิโลเมตรแรกเพราะลูกค้าร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่อยากจ่ายค่าเดลิเวอรี่อยู่แล้ว หรือจะมีตัวเลือกให้ลูกค้ามารับอาหารเองที่ร้านก็ได้
จริง ๆ เรื่องการส่งฟรีไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็อาจจะยังมีบางส่วนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องส่งฟรี นั่นก็เพราะว่า ถ้าเราไม่มีโปรนี้ที่ร้านอาหาร ลูกค้าก็อาจจะสั่งแค่ 100 บาท แต่ถ้ามีโปรส่งฟรี 500 บาท ก็จะกระตุ้นให้ลูกค้าจ่ายมากขึ้นนั่นเอง อย่างบางร้านที่ให้ลูกค้าทักไลน์หรือเรียกรถมารับ/ส่งอาหารเอง ค่าบริการก็ถือว่าราคาสูงอยู่เหมือนกัน แต่หากทางร้านตั้งโปรสั่งฟรีตามยอดที่ร้านกำหนด ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะสั่งให้ถึงยอดขั้นต่ำเพื่อให้ได้ส่งฟรี และโปรนี้ก็ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้ส่วนลดและคุ้มค่า ส่วนทางร้านอาหารก็จะเพิ่มมูลค่าต่อออร์เดอร์ได้มากขึ้น
เคล็ดลับ:
- ร้านอาหารใส่ความสร้างสรรค์ลงในการสามารถเลือกเซ็ตเมนูอาหารและจัดโปรส่งฟรีได้เต็มที่
การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกค้าสำหรับร้านอาหารยุค New Normal
ร้านอาหารยุค New Normal ต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของลูกค้าเป็นอันดับ 1
มาตรการความปลอดภัยที่ร้านอาหารต้องให้ความสำคัญในยุค New Normal
นอกจากการจัดการร้านทั่วไป ร้านอาหารยุค New Normal ต้องใส่ใจมาตรการป้องกัน COVID-19 และความปลอดภัยของลูกค้า คือ ต้องปฏิบัตตามคำแนะนำของ ศบค. อย่างเคร่งครัด และคำนึงถึงความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก
- ตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานและลูกค้าก่อนเข้าร้าน ซึ่งอุณหภูมิไม่ควรเกิน 37.5 องศา
- มีฉากกั้นและเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลหรือทำ Social Distancing อย่างน้อย 1.5 – 2 เมตร
- มีแอลกอฮอล์เจลและสบู่ล้างมือในร้าน โดยเจลล้างมือต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70%
- พยายามลดการสัมผัสทั้งขั้นตอนการสั่งอาหารและจ่ายเงิน (Contactless order and payment)
- ลงทะเบียนขอรับ QR Code และใบรับรองการประเมินตามมาตรการที่ www.ไทยชนะ.com
เพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการและง่ายต่อการติดตาม
หมายเหตุ: หากเจ้าของร้านอาหารท่านไหนสนใจฟีเจอร์ Beep QR Order ของสโตร์ฮับที่ช่วยลดการสัมผัสและให้ลูกค้าร้านอาหารสั่งอาหารและจ่ายเงินผ่านด้วยระบบ QR Code สามารถติดตามได้ในเพจของเรา https://www.facebook.com/StoreHubTH/ หากมีอัปเดตหรือสามารถเปิดใช้งานได้แล้ว เราจะรีบแจ้งทันที