หลังจากที่มีการพบจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากถึง 89 รายเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 ผู้ว่า กทม. ก็มีการสั่งปิดพื้นที่เสี่ยง 22 วัน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคทันที เริ่มตั้งแต่ 22 มี.ค – 12 เม.ย. 2563 โดยห้างและตลาดต่าง ๆ ต้องหยุดให้บริการเพื่อความปลอดภัยของคนในพื้นที่กรุงเทพทุกคน
การสั่งปิดพื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพหมายถึงอะไร ?
การสั่งปิดพื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพ หรือล็อคดาวน์กรุงเทพ (Bangkok Partial Lockdown) คือการสั่งปิดพื้นที่ที่เสียงต่อการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า (Coronaviru) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งตอนนี้ทั่วประเทศมีทั้งหมด 411 ราย (รายงาน ณ วันที่ 21 มี.ค. 2563) ถือว่าเป็นจำนวนสูงที่สุดเท่าที่ไทยของเราเคยมีมา
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ จึงได้มีการสั่งปิดห้าง ตลาด และพื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ เพิ่มทันที แต่สำหรับซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อยังเปิดให้บริการได้ ส่วนร้านอาหารขายได้แค่ซื้อกลับบ้านเท่านั้น เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างไปมากกว่านี้
คำสั่งปิดพื้นที่เสี่ยงกรุงเทพครอบคลุมอะไรบ้าง ?
สำหรับคำสั่งปิดพื้นที่กรุงเทพ หรือ partial lockdown ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. – 12 เม.ย. 2563 นี้กระทบกับ 26 สถานที่ในกรุงเทพด้วยกัน ได้แก่
- ร้านอาหาร – ลูกค้าต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น ถ้าเป็นโรงแรมก็ขายให้ได้แค่เฉพาะแขกที่มาพัก)
- ร้านสะดวกซื้อ – 7-11 หรือร้านสะดวกซื้อต้องปิดพื้นที่นั่งหรือยืนทานอาหาร แต่ให้บริการได้ปกติ
- ตลาดและตลาดนัด – เปิดได้แค่ร้านขายอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าจำเป็น
- ห้างสรรพสินค้า – เปิดได้แค่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็น และร้านอาหาร (ลูกค้าต้องซื้อกลับไปทานที่บ้านเท่านั้น)
- ร้านเกม และร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต
- ร้านเสริมสวย และร้านตัดแต่งทรงผม
- ร้านสัก หรือร้านเจาะผิวหนัง
- สวนสนุก เล่นโบว์ลิ่ง และตู้เกมต่าง ๆ
- ที่เล่นสเกต โรลเลอร์เบลด หรือกิจกรรมกีฬาอื่น ๆ ที่คล้ายกัน
- สนามฝึกซ้อมหรือเล่นกอล์ฟ
- สระว่ายน้ำ
- สนามกีฬา
- สนามม้า
- สนามมวยและโรงเรียนสอนมวย
- ที่ออกกำลังกาย
- สถานบริการและสถานที่ที่คล้ายกัน
- สนามซ้อมและชนไก่
- โรงหนัง โรงละคร โรงมหรสพ
- สถานเสริมความงาม คลินิกความงาม และที่บริการควบคุมน้ำหนัก
- ร้านนวด สปา และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
- ร้านอาบ อบ นวด
- ร้านให้บริการอาบน้ำ อบไอน้ำ และอบสมุนไพร
- ร้านอาบน้ำ ตัดขน สปา หรือรับเลี้ยงสัตว์
- ศูนย์บูชาและสนามพระเครื่อง รวมถึงพระบูชา
- โรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถานศึกษาทุกระดับ
- ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า และสถานที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ
หมายเหตุ: หลังจากที่กรุงเทพมีคำสั่งปิดพื้นที่เสี่ยง 5 จังหวัดรอบกรุงเทพที่เป็นเขตปริมณฑลอย่างนนทบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม และปทุมธานี ก็มีคำสั่งปิดพื้นที่เสี่ยงตามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทำไมต้องปิดพื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพเพิ่มเติม ?
ภาพจาก Freepik
คณะแพทย์ฯ ได้เสนอนายกฯ ให้มีการล็อคดาวน์ (lockdown) หรือควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน (MCO: Movement Contral Order) ขณะเข้าประชุมเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า ประเทศไทยต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์ให้ประชาชนอยู่บ้าน กับโมเดล “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” กับอนาคต 30 วัน ซึ่งตอนนี้ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 24,269 คน นอนโรงพยาบาล 3,640 คน ไอซียู 1,213 คน และเสียชีวิต 485 คน
แต่ถ้าประเทศไทยเราไม่มีมาตรการออกมาชัดเจนและไม่หยุดความเคลื่อนไหวของประชาชนภายใน 30 วัน ตัวเลขก็จะเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่า คือ
- คาดว่าผู้ป่วยติดเชื้อน่าจะสูงถึง 351,948 คน
- นอนโรงพยาบาล 52,792 คน
- รักษาตัวในไอซียู 17,597 คน
- เสียชีวิต 7,039 คน
และด้วยข้อมูลนี้เองที่ทำให้แฮชแท็ก #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ ติดเทรนด์อันดับ 1 บนหน้าทวิตเตอร์ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ก็มีแฮชแท็กต่าง ๆ ผุดขึ้นมาในช่วงวิกฤต COVID-19 นี้ด้วย เช่น
- #saveเราsaveหมอ
- ฝ่าวิกฤตด้วยพลังบวก
- คนไทยไม่ทิ้งกัน
- #saveตัวเอง
แนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพคืออะไร ?
สำหรับแนวทางการดูแลตัวเองปฏิบัติตัวของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ บอกว่า
“. . . ดีที่สุดคือนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน แล้วการนั่งทำงานก็ควรเว้นช่วงระหว่างกันต่อกันเพื่อที่ไอ จาม หรือมีเสมหะ หรือมีน้ำมูกกระเด็น ควรจะเว้นจะระยะห่างสักประมาณ 1 เมตรขึ้นไป . . .”
นอกจากนี้ทางผู้ว่า กทม เองยังจะประสานงานกับรถขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้าในเรื่องของการจำนวนผู้โดยสารและเว้นระยะบนรถไฟฟ้า MRT หรือ BTS ด้วย
ทั้งนี้มีการขอความร่วมมือกับประชาชนให้
- เว้นระยะห่างทางสังคมและตัวบุคคล (social distancing)
- ไม่ไปในที่มีคนเยอะ หรือชุมชนหนาแน่น เพราะเราไม่รู้ว่าใครเป็นหรือไม่เป็น
- หากใครมีอาการไข้ ควรนอนพักผ่อนที่บ้านตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูระยะการฟักตัว
- ไม่ควรออกต่างจังหวัด แนะนำให้อยู่กับที่ (ไม่ควรออกนอกพื้นที่กรุงเทพ)
ซึ่งหากทุกคนให้ความร่วมมือก็จะช่วยให้เรารู้ว่าใครป่วยหรือติดเชื้อ COVID-19 ได้ง่ายขึ้น แล้วก็ลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่าได้อีกด้วย
แล้วร้านค้าและร้านอาหารขนาดเล็กสามารถรับมือกับวิกฤต COVID-19 ช่วงปิดพื้นที่กรุงเทพ 22 วัน ได้ยังไงบ้าง ?
เมื่อมีประกาศปิดพื้นที่เสี่ยงกรุงเทพยาวถึง 22 วัน คือเริ่มตั้งแต่ 22 มี.ค. – 12 เม.ย. 2563 แบบนี้ แน่นอนว่าร้านค้าและร้านอาหารได้รับผลกระทบแบบเต็ม ๆ ซึ่งวิธีเอาตัวรอดสำหรับร้านค้าและร้านอาหารที่สโตร์ฮับของเราอยากแนะนำก็คือ
หากคุณเป็นเจ้าของร้านค้าปลีกที่มีแค่หน้าร้าน . . .
เปิดร้านค้าออนไลน์
ภาพจาก Freepik
เจ้าของร้านคงจะสังเกตกันเองอย่างเห็นได้ชัดว่าลูกค้าหน้าร้านลดลง และยอดขายร้านก็ลดฮวบตั้งแต่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นไม่หยุด
แล้วยิ่งมีการประกาศให้ประชาชนในเขตพื้นที่เว้นระยะห้างทางสังคมและปิดพื้นที่เสี่ยงอย่างห้างสรรพสินค้า ตลาด และตลาดนัดเช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้เจ้าของร้านค้าปลีกอย่างร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่น ร้านขายเครื่องสำอาง ร้านขายเครื่องประดับ ฯลฯ หวั่นใจเรื่องยอดขายไปอีก ซึ่งบางคนก็อาจจะคิดไปจนถึงจุดที่ว่า
“หรือจะต้องปิดร้านหนี COVID-19?”
ขอบอกว่าไม่จำเป็น เพราะจริง ๆ แล้วทางหนีทีไล่ที่จะช่วยให้คุณพยุงร้านฝ่าวิกฤตโควิดไปได้ในช่วงนี้ก็คือ . . . การเปิดร้านค้าออนไลน์
ทำไมต้องเปิดร้านค้าออนไลน์ในช่วงวิกฤต COVID-19?
- จากเดิมที่มีการคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยจะเติบโตขึ้นกว่า 14% แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการระบาดของโควิด-19 เข้ามายิ่งจะทำให้วงการอีคอมเมิรซ์ร้อนระอุมากขึ้นไปอีก
- ผู้คนไม่สามารถออกมาใช้จ่ายได้ตามปกติเพราะระแวงและกลัวติดเชื้อ ดังนั้นการส่งตรงสินค้าไปยังหน้าบ้านลูกค้าน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้
- ร้านค้าออนไลน์ช่วยให้เจ้าของร้านค้าปลีกให้บริการลูกค้าและขายสินค้าได้เหมือนเดิม แต่คราวนี้ขายได้เต็มที่ ไม่จำกัดเวลาเปิด-ปิด
รู้อย่างนี้แล้วทำไมไม่เปลี่ยนหน้าร้านของคุณเป็นร้านค้าออนไลน์ที่เข้าถึงลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลาล่ะ ยิ่งช่วงปิดพื้นที่เสี่ยงและล็อคดาวน์แบบนี้ ร้านของคุณก็จะมีโอกาสสร้างยอดขายมากกว่าเดิมแน่นอน
คุณสามารถพลิกวิกฤต COVID-19 ให้โอกาสทางธุรกิจได้ง่าย ๆ ผ่าน
- ระบบ POS ที่มีฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซมาให้ – เชื่อมต่อหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มเดียว จัดการง่ายทั้งยอดขาย สต๊อก และอื่น ๆ
- ลองขายออนไลน์ด้วย Shopify
- ขายใน Social Media อย่าง Facebook, Instagram และ LINE
- ขายตามมาร์เก็ตเพลสออนไลน์ (online marketplace) อย่าง Lazada หรือ Shopee
หากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหาร . . .
เปิดให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ หรือ food delivery
ภาพจาก Freepik
ที่เราแนะนำวิธีนี้ก็เพราะว่าก่อนที่จะมีการสั่งปิดพื้นที่เสี่ยง ลูกค้าสโตร์ฮับของเราที่มาเลเซียมียอดขายเพิ่มขึ้นมากถึง 35% จากที่ขายในเว็บไซต์และระบบสั่ง/ส่งอาหารออนไลน์ (food delivery) ของเรา
ซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดจาก
- ลูกหน้าร้านลดลง
- ความต้องการของลูกค้าด้าน ฟู้ด เดลิเวอรี เพิ่มมากขึ้น
และตอนนี้จำนวนลูกค้าที่สั่งอาหารออนไลน์ก็เพิ่มมากขึ้นถึง 45% ต่อวันตั้งแต่มีการประกาศล็อคดาวน์ (lockdown) และควบคุมการเคลื่อนไหว (Movement Control Order) ในมาเลเซีย
สาเหตุที่ยอดขายจากบริการ food delivery เพิ่มสูงเช่นนี้ก็เพราะว่าแม้ที่มาเลเซียจะประกาศงดให้ลูกค้านั่งทานอาหารที่ร้านหรือออกไปข้างนอกเท่าที่จำเป็น แต่ว่าบริการ drive-through และ food delivery ก็ยังคงเปิดให้บริการได้ ซึ่งที่ไทยของเราก็น่าจะต้องใช้วิธีการเดียวกัน เจ้าของร้านอาหารจึงจะอยู่รอดในวิกฤต COVID-19 เช่นนี้ ดังนั้นลองคิดดูว่าหากร้านค้าไม่ขยับขยายสู่บริการสั่งอาหารออนไลน์ (food delivery) ร้านของคุณจะพลาดโอกาสในการขายและเสียหายมากแค่ไหน
แต่เราเข้าใจดีว่า ผู้ให้บริการ food delivery ในไทยส่วนใหญ่ อย่าง Foodpanda, GrabFood หรือ Get Food เก็บค่าบริการหรือค่าคอมมิชชั่นค่อนข้างสูง คือคิดประมาณ 35% ของการสั่งซื้ออาหารแต่ละครั้ง ซึ่งก็ถือว่าโหดมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการหลายเจ้ายังลังเลที่จะเข้าร่วมขายในเว็บไซต์หรือแอพสั่งอาหารออนไลน์เหล่านี้
และค่าบริการที่แสนแพงนี้เอง ที่ทำให้สโตร์ฮับของเราได้พัฒนาบริการใหม่ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเราและผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะ ซึ่งสำหรับใครที่เป็นลูกค้าสโตร์ฮับอยู่แล้ว สามารถติดต่อผู้ดูแลบัญชีเพื่อสอบถามข้อมูลได้โดยตรง
ส่วนใครที่ยังไม่เป็นลูกค้าสโตร์ฮับสามารถกรอกแบบฟอร์มนี้เพื่อลงทะเบียนได้เลย แล้วเราจะติดต่อกลับไปเพื่อช่วยเหลือคุณให้เร็วที่สุด
หมายเหตุ: บริการใหม่ของสโตร์ฮับกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ และเราจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ หากใครสนใจสามารถทำตามคำแนะนำด้านบนได้เลย !
ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรายงาน COVID-19 ได้ที่ไหนบ้าง ?
สำหรับแหล่งข่าวที่รายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ พร้อมเป็นอาวุธสำคัญช่วยให้ชาวไทยรู้เท่าทัน COVID-19 นั้น สโตร์ฮัของเราได้รวบรวมมาคร่าว ๆ ดังนี้ :-
- ใกล้มือหมอ – มีให้ดาวน์โหลดทั้ง Android และ iOS ให้คัดกรองอาการเบื้องต้นและอธิบายรายละเอียดของ COVID-19 รวมถึงโรคต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด
- COVID-19 tracker – เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบอกตำแหน่ง สถานะ และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยได้ค่อนข้างละเอียด
- SydeKick for ThaiFight COVID – สำหรับคนที่จำเป็นต้องกักตัวที่บ้าน 14 วันและไม่อยากไปโรงพยาบาล แอพนี้ใช้ร่วมกับเจ้าหน้าที่และมีเจ้าหน้าที่ดูแล หากเกิดกรณีฉุกเฉินสามารถติดต่อสายด่วนควบคุมโรค 1422 ได้จากแอพพลิเคชั่นทันที
- เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของเว็บข่าวต่าง ๆ – Thai PBS, เรื่องเล่าเช้านี้, MThai, ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, Sanook, ฯลฯ รายงานตัวเลข ผู้ติดเชื้อ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
เราหวังว่าข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงแนวทางการรับมือและปฏิบัติตัวในช่วงของการล็อคดาวน์ ปิดพื้นที่เสี่ยง กทม. ในครั้งนี้ และหวังว่าเจ้าของร้านค้าและร้านอาหารขนาดเล็กจะได้ไอเดียในการพยุงร้านและปรับตัวเข้ากับยุทธศาสตร์ในการอยู่รอดครั้งนี้ ซึ่งก็คือ การขายของออนไลน์ และให้ บริการสั่งอาหารออนไลน์ (food delivery) กับลูกค้าเพื่อเข้าถึงลูกค้าแม้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้
แล้วเราจะผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน ! ระหว่างนี้ขอให้ทุกคนปลอดภัยนะคะ และอย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วย ทางที่ดีควรปฏิบัติตามวิธีป้องกันไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อย่างเคร่งครัดกันด้วยนะคะ