Cash Flow คือ กระแสเงินสด ที่เปรียบเสมือนหัวใจหลักของการเปิดร้านและทำธุรกิจ เพราะเมื่อร้านรู้จักวางแผนและบริหารกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สภาพการเงินของร้านก็จะคล่องตัว ช่วยลดความเสี่ยง ทั้งยังสามารถรับมือได้กับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
และเพื่อให้เจ้าของร้านค้าปลีกและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กสามารถบริหารจัดการกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราก็มี 8 วิธีจัดการ Cash Flow ที่จะช่วยให้การเงินร้านคล่องตัว ไม่ติดขัดแม้ในยามคับขันมาฝากดังนี้ :-
1. ดูความเสี่ยงและเตรียมรับมือล่วงหน้า
ขึ้นชื่อว่าทำธุรกิจแล้วย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ซึ่งบางทีก็อาจเป็นเหตุการณ์ที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยก็ได้ อย่างช่วงที่มีการระบาดหนักของ COVID-19 ที่ผ่านมา ก็เป็นหนึ่งในเหตุกาณณ์ที่ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดขึ้น หลายร้านไม่สามารถขายของได้เลย หลายร้านต้องปรับตัวกันยกใหญ่ และหลายร้านก็ต้องปิดตัวลงเพราะไม่มี Cash Flow หรือว่ามีเงินสำรองจ่ายเพื่อหนุนธุรกิจให้ไปต่อได้
ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเช่นคุณจำเป็นต้องรู้ว่าที่ร้านมีเงินสดเท่าไหร่ จากนั้นก็จำลองสถานการณ์ล่วงหน้าว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้หรือร้ายแรงกว่านี้ ทางร้านจะบริหารจัดการกระแสเงินสดยังไง ลองวิเคราะห์ความเสี่ยงและวางแผนรับมือล่วงหน้าดู
2. เช็ค Cash Flow หรือกระแสเงินสดเป็นประจำ
โปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง Quickbooks Online หรือ Xero ช่วยให้ผู้ประกอบการเช่นคุณ ทำบัญชี ดูรายงานรายรับ-รายจ่าย ช่วยให้วางแผน Cash Flow ได้ง่ายขึ้น ทั้งยังมีข้อดีอีกมากมาย! ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าปัจจุบันระบบ POS หลายเจ้าสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมบัญชีที่ว่านี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้จัดการร้านและดูบัญชีได้ง่ายขึ้น อย่างระบบ POS สโตร์ฮับก็มีฟังก์ชั่นเชื่อมต่อกับ Quickbooks Online, Xero และโปรแกรมบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ ให้เจ้าของร้านเช่นคุณทำทุกอย่างได้ง่ายขึ้นและจบในระบบเดียว
ในส่วนความปลอดภัยของข้อมูลก็ต้องบอกเลยว่าหายห่วงได้เลย เพราะข้อมูลของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ว่านี้จะถูกเก็บไว้ในคลาวด์ ให้คุณดูบัญชีและกระแสเงินสดของร้านได้ทุกที่ทุกเวลา และข้อมูลก็ไม่แพร่งพรายหรือรั่วไหลไปที่ไหน
3. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในร้าน
ดูรายจ่ายของร้านสิว่าต้องจ่ายอะไรในแต่ละเดือนบ้าง แล้วรายจ่ายแต่ละควาเตอร์หรือรายปีมีอะไรที่ต้องจ่ายกี่ก้อน กี่ครั้ง เป็นจำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ จากนั้นก็ดูว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในร้านตรงไหนได้บ้าง เช่น ลดค่าน้ำค่าไฟ ขอให้พนักงานช่วยกันสอดส่องดูแลการใช้น้ำใช้ไฟ ลดการใช้แก้ว/ถุงพลาสติกในร้าน เจรจาขอลดค่าเช่า จ้างพนักงานพาร์ทไทม์แทนพนักงานประจำในส่วนที่ไม่จำเป็น และยกเลิกบริการที่ทางร้านไม่ค่อยได้ใช้
อย่าลืมว่าบางค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านยังยอมจ่ายแม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ นานไปก็สะสมเป็นเงินก้อนใหญ่ได้เช่นกัน ดังนั้นลองดูสิว่ามีรายจ่ายส่วนไหนที่คุณสามารถตัดออกไปได้บ้าง แล้ว Cash Flow และสภาพการเงินในร้านจะดีขึ้นแน่นอน
4. เปลี่ยนของที่ไม่ได้ใช้ในร้านให้กลายเป็นเงิน
ทำไมไม่ลองเปลี่ยนของในร้านเป็นรายได้ล่ะ? ใช่แล้วคุณอ่านไม่ผิด ขายของในร้านนั่นแหละ แต่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่คุณไม่ได้ใช้แล้ว หรือเป็นสต๊อกสินค้าที่เริ่มเก่า ลองเปลี่ยนไอเท็มเหล่านั้นให้กลายเป็นเงินก่อนที่ร้านของคุณจะเต็มไปด้วยของเก่าที่ไร้ประโยชน์และทำอะไรไม่ได้
บอกเลยว่าตรงนี้คุณขายได้ทั้งของมือสองและขายของเก่า อาจจะเป็นชั้นวางสินค้าที่ไม่ค่อยได้ใช้ ราวแขวนเสื้อ เครื่องชงกาแฟ ซุ้ม/เคาน์เตอร์กาแฟ หรือจะขายลังกระดาษ ขายของเก่าในร้านก็ได้ เรียกว่าอะไรเปลี่ยนเป็นเงินได้ ต้องรีบขายทันที เพื่อให้ร้านมีกระแสเงินสดหมุนเวียนไม่ขาดสาย หากคุณอยากจัดการ Cash Flow ในร้านให้เป็นและดีขึ้น ก็ต้องเริ่มเสียตอนนี้
ภาพโดย Jasmin Schreiber จาก Unsplash
5. ติดตามสต๊อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
จากข้อมูลของ QuickBooks นั้นพบว่า 71% ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลกที่ประสบปัญหา Cash Flow มักจะมีปัญหาในการจ่ายเงินสินค้าซัพพลายเออร์ตามไปด้วย ดังนั้นถ้าไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ก็ไม่ควรสต๊อกสินค้าเกินพอดี ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือ ทางร้านจะต้องนับและติดตามสต๊อกสินค้าอย่างแม่นยำ
เมื่อติดตามและวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของสต๊อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณก็จะรู้ว่าสินค้าไหนขายดี-ขายไม่ดี สินค้าไหนควรสต๊อกและสินค้าไหนที่ควรหยุดขาย เพราะหากคุณไม่มีข้อมูลสต๊อกสินค้าที่แม่นยำและคาดการณ์ทุกอย่างด้วยความน่าจะเป็น ก็จะส่งผลให้สต๊อกเกิน ทำให้ Cash Flow จมอยู่กับสินค้าคงคลังแทนที่จะได้ใช้กระแสเงินสดในร้านไปบริหารในส่วนอื่น แล้วแบบนี้ทางร้านจะมีรายได้หรือกำไรได้ยังไงล่ะ จริงไหม? เราขอแนะนำให้เลือกใช้ระบบ POS ดี ๆ สักอันที่มีโปรแกรมนับสต๊อกมาให้ด้วย รับรองว่าคุณจะจัดการสต๊อกสินค้าและบริหาร Cash Flow ในร้านได้ดีขึ้นแน่นอน
6. มีเงินสำรองจ่าย
เมื่อร้านถึงจุดคุ้มทุนแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาเก็บเงินไว้สำรองจ่ายในส่วนต่าง ๆ แล้ว ซึ่งทางเราขอแนะนำว่าควรมีกระแสเงินสดไว้หมุนเวียนในร้านอย่างน้อย 3 เดือน อาจจะเป็นทุนส่วนตัว เงินกู้ หรือเป็นวงเงินจากบัตรเครดิตก็ได้
เมื่อพูดถึงบัตรเครดิตแล้ว เราเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนรู้อยู่แล้วว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในเรื่องของ Cash Flow และเทคนิคที่เราอยากแนะนำก็คือ ให้เลือกบัตรเครดิตที่มีรางวัลให้เยอะ ๆ เช่น มีคะแนนสะสมและใช้จ่ายเป็นส่วนลดในการเดินทาง การซื้อสินค้า หรือค่าใช้จ่ายในธุรกิจส่วนต่าง ๆ แล้วการซื้อของด้วยบัตรเครดิตก็ช่วยให้คุณติดตามค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทได้ง่ายขึ้นด้วย
ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay
7. กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในร้านเร็วขึ้นด้วยข้อเสนอ
อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ Cash Flow ของคุณดีขึ้นก็คือ การจัดโปรโมชั่นหรือข้อเสนอในร้าน เช่น มอบส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์ มอบส่วนลดเป็นจำนวนเงิน และแจกของสมนาคุณฟรีเมื่อซื้อสินค้าครบตามกำหนด เป็นต้น อย่าลืมคำนวณก่อนล่วงหน้าด้วยว่าต้องจัดโปรโมชั่นยังไงถึงจะไม่ขาดทุน
ส่วนกลุ่มลูกค้าที่เหมาะกับการส่งตรงโปรโมชั่นร้านไปโปรโมทมากที่สุดก็คือ ลูกค้าสมาชิก ใช้ระบบ CRM เพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างชื่อและเบอร์โทร เพื่อจะได้บอกต่อข่าวสารดี ๆ จากทางร้านผ่าน SMS วิธีนี้จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของได้เร็วขึ้น แล้วก็ช่วยให้ร้านมีเงินเข้าร้านเร็วขึ้น เมื่อมีรายได้เข้าร้านก็เท่ากับว่าร้านมีเงินในร้าน ทำให้มีกระแสเงินสดไหลเวียนยังไงล่ะ
8. โฟกัสที่ Cash Flow แทนกำไร
รู้ไหมว่าแม้หลายธุรกิจ SMEs จะมีการคาดการณ์กำไรขั้นต้นล่วงหน้ากันหลายปี แต่กว่า 90% ไม่ได้วางแผนเกี่ยวกับกระแสเงินสดหรือ Cash Flow ตั้งแต่แรก และนี่ก็เป็นเหตุผลที่หลายร้านไปไม่รอดในช่วงปีแรก ๆ ดังนั้นไม่ควรให้ความสำคัญกับกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ให้โฟกัสที่ Cash Flow ที่มีสำคัญในการทำร้านไม่แพ้กันด้วย
นอกจากนี้ Agnes Cserhati จาก AC PowerCoaching บริษัทโค้ชชิ่งองค์กรต่าง ๆ ยังบอกอีกว่า “ถ้ากระแสเงินสดของร้านดี กำไรก็จะดีตามไปด้วย หลายธุรกิจต้องปิดกิจการหลังเปิดได้ไมถึง 6 เดือน เพราะแม้จะทำกำไรได้ แต่สุดท้ายก็ต้องมีการบริหารจัดการ Cash Flow ที่ดี จึงจะไปรอดได้” ดังนั้นจำไว้ว่า การที่ร้านมีกำไรนั้น ไม่ได้แปลว่าร้านจะมีกระแสเงินสดดี
สรุป
“Cash is King.” คือคำพูดที่จริงเสมอ ซึ่งเราเชื่อว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กต่างก็ยึดถือหลักการนี้ เพราะเมื่อมีการบริหารจัดการ Cash Flow ที่ดีและมีประสิทธิภาพแล้ว ทางร้านก็จะมีกระแสเงินสดให้ธุรกิจดำเนินไปต่อได้แม้ในสถานการณ์คับขัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับ Cash Flow
ยังไงลองนำเทคนิคบริหารจัดการ Cash Flow ทั้ง 8 ข้อไปลองปรับใช้กันดู รับรองว่าการเงินร้านจะคล่องตัวไม่มีติดขัดแน่นอน หรือถ้าใครมีเคล็ดลับในการจัดการกระแสเงินสดดี ๆ ก็สามารถแชร์กับเราไว้ใต้โพสต์ได้เลย!