WhatsApp our business consultants: +601117227604

เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่งกับ 5 วิธีเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ให้ปัง

5 วิธีเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์

ธุรกิจขายของออนไลน์ดูเหมือนจะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าและพ่อค้าแม่ค้ายุคใหม่ได้เป็นอย่างดี เลยทำให้ผู้ประกอบการรายน้อยใหญ่หันมาเปิดร้านค้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

อย่างไรก็ตาม แม้ร้านขายของออนไลน์ดูเหมือนจะทำง่ายและไม่ต้องลงทุนอะไรเยอะ แต่ถ้าคุณเริ่มต้นผิดก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนได้เช่นกัน ดังนั้นสำหรับใครที่กำลังคิดจะเปิดร้านค้าออนไลน์ เราขอให้หยุดและอ่านบทความนี้เสียก่อน เพื่อจะได้เริ่มต้นอย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จในอนาคตกับ 5 วิธีเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ดังต่อไปนี้ :-

1. เลือกสินค้าขายออนไลน์อย่างชาญฉลาด

การเลือกสินค้ามาขายออนไลน์

ภาพจาก Unsplash

สิ่งที่ยากที่สุดในการเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ก็คือ การเลือกสินค้าที่จะขาย เพราะเป็นขั้นตอนการตัดสินใจที่สำคัญและจะส่งผลต่อร้านขายของออนไลน์ของคุณในระยะยาว ทั้งความต้องการของลูกค้า ราคา กำไร การแข่งขันในท้องตลาด ยอดขาย และการตลาด

แล้วทีนี้คำถามก็คือ จะเลือกสินค้าอะไรมาขายออนไลน์ล่ะ? หรือ จะรู้ได้ไงว่าจะขายอะไรดี?”

แต่ไม่ต้องห่วงไป เพราะแค่คุณทำตามหลักการเลือกสินค้าขายของออนไลน์ดังต่อไปนี้ คุณก็จะเลือกสินค้าได้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น

  • เป็นสินค้าที่คุณชื่นชอบ สามารถเลือกได้จากสิ่งที่เป็นงานอดิเรกของคุณ และจำไว้ว่ายิ่งเป็นสินค้าที่แปลกใหม่และมีกลุ่มลูกค้าเล็กเท่าไหร่ จะยิ่งดีต่อร้านค้าออนไลน์ของคุณมากกว่า
  • เป็นสินค้าที่ทำกำไร แน่นอนว่าทุกคนที่ทำธุรกิจต่างก็อยากได้กำไรกันทั้งนั้น ดังนั้นคุณต้องเลือกสินค้าที่มีผลตอบแทนดี และคำนวณค่าจัดส่ง ค่าแพ็คสินค้า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ดี จากนั้นก็ดูสิว่า สินค้าที่คุณอยากขายออนไลน์นั้นจะทำกำไรให้กับคุณได้มากน้อยแค่ไหน
  • เป็นที่ต้องการในท้องตลาด พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนขายของออนไลน์โดยที่ไม่ได้ศึกษาเลยว่า สินค้าที่ขายนั้นเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือเปล่า จึงไม่น่าแปลกใจที่การขายของจะชะลอตัว เพราะฉะนั้นต้องศึกษาข้อมูลและเลือกสินค้าที่เป็นที่ต้องการในท้องตลาดเท่านั้น
  • เป็นสินค้าที่ไม่มีการแข่งขันสูงเกินไป รู้หรือไม่ว่าสินค้าที่มีการแข่งขันสูงจะทำให้คุณทุนหายกำไรหดไปในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีคนขายมากกว่าคนซื้อ ดังนั้นถ้าไม่อยากขาดทุนและขายของออนไลน์ให้รอด จะต้องเลือกสินค้าที่ไม่มีการแข่งขันสูงมากเกินไป

2. เลือกซัพพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือ

การเลือกซัพพลายเออร์สินค้าขายของออนไลน์

ภาพจาก Pixabay

หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการขายของออนไลน์ก็คือ การเลือกซัพพลายเออร์หรือคู่ค้า ดังนั้นเมื่อเลือกสินค้าได้แล้ว คุณจะต้องมองหาซัพพลายเออร์ก่อนที่จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ และคุณก็จำเป็นต้องเลือกคู่ค้าหรือผู้จัดส่งสินค้าที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

การเลือกซัพพลายเออร์ คู่ค้า หรือว่าผู้จัดส่งสินค้า ถือเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุดรองลงมาจากการเลือกสินค้า เพราะคุณจะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และคุณก็จะต้องแน่ใจว่าได้ซัพพลายเออร์ที่ใช่สำหรับร้านค้าออนไลน์ของคุณจริง ๆ ซึ่งหลักการเลือกซัพพลายเออร์เบื้องต้นที่คุณจะต้องคำนึงถึงก็มีดังนี้ :-

  • การหาซัพพลายเออร์ที่เป็นร้านขายส่ง ในการหาข้อมูลทุกอย่างนั้น เราเชื่อว่า Google คือสิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึง แต่อย่าลืมว่าบางทีร้านขายส่งที่มีชื่อเสียงและเชื่อได้ก็ไม่มีเวลาอัพเดตข้อมูลร้านหรือทำการตลาด เพราะฉะนั้นการหาร้านค้าส่งออนไลน์จึงเป็นเรื่องยาก หรือถ้าไปดูหน้าเว็บ เว็บของร้านขายส่งที่ว่านี้ก็อาจจะดูไม่น่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ ดังนั้นเราขอแนะนำให้ศึกษาข้อมูลในโลกออฟไลน์ ซึ่งคุณอาจจะสอบถามคนที่ขายของหรือไปตามงานอีเว้นท์ต่าง ๆ ดู
  • การหาซัพพลายเออร์ที่เป็นโรงงานผลิต คุณสามารถหาโรงงานผลิตสินค้าได้จาก Google หรือสอบถามผู้รู้ได้อีกเช่นกัน ซึ่งถ้าจะให้ดีต้องเปรียบเทียบราคาแต่ละเจ้า ไปดูที่โรงงาน ทดสอบคุณภาพสินค้าและบริการ จงจำไว้เสมอว่าคู่ค้าที่ดีคือส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ได้อย่างราบรื่นและปวดหัวน้อยที่สุด เพราะฉะนั้นต้องเลือกให้ดี

3. เริ่มต้นขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง

การเริ่มต้นขายของออนไลน์

ภาพจาก Unsplash

เลือกของมาขายและได้ซัพพลายเออร์แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์สักที ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณจำเป็นต้องจัดการร้านและทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่าคุณเริ่มต้นขายของออนไลน์อย่างถูกต้องหรือว่ามาถูกทางแล้ว ง่าย ๆ เลย แค่พิจารณาตาม 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ :-

  • ตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์ เลือกชื่อร้านที่คุณชอบและฟังแล้วติดหู และต้องเป็นชื่อร้านที่คุณสามารถโปรโมทได้อย่างภาคภูมิใจ อย่าตั้งชื่อร้านที่มีความหมายเชิงลบ
  • ลงทะเบียนร้าน หากคุณเลือกที่จะขายของออนไลน์จริงจังและไม่อยากขายของในเฟส ไลน์ หรือว่าไอจีเพียงอย่างเดียว คุณจะต้องจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ (ecommerce) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจออนไลน์ของคุณ
  • ทำเรื่องเสียภาษี สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์และไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบของบริษัท จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือเงินได้จากการค้าขาย โดยต้องยื่นเสียภาษี 2 ช่วงคือ ยื่นภาษีสิ้นปี เดือน ม.ค. – มี.ค. (เป็นการสรุปรายได้รวมทั้งหมดของปีที่ผ่านมา) และยื่นภาษีกลางปี เดือน ก.ค. – ก.ย. (เป็นการสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีภาษีแรก ค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่ง)
  • เพิ่มช่องทางการจ่ายเงินสำหรับลูกค้า เว็บขายของออนไลน์ของคุณจะต้องมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากที่สุด คือ ควรจะรองรับทั้งเครดิตการ์ดและอีเพย์เมนต์ (e-payment) เช่น การโอนเงินระหว่างธนาคาร mobile banking และ online banking

4. เลือกช่องทางที่มีโอกาสเพิ่มยอดขาย

ช่องทางเพิ่มยอดขายออนไลน์

ภาพจาก Pixabay

จากการศึกษาของ Priceza นั้นพบว่าช่องทางที่คนไทยซื้อของออนไลน์มากที่สุดแบ่งเป็น 3 แพลตฟอร์ม คือ

  • Social Media – 40% ส่วนใหญ่เป็น social commerce และการแชทพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้าโดยตรง
  • E-marketplace – 35% จากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Lazada, Shopee และ JD
  • E-Tailer – 25% เป็นเว็บขายสินค้าของร้านค้าปลีกที่มีหน้าร้านอยู่แล้ว เช่น Central, Tesco Lotus, Big C และ King Power เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าคุณสามารถเลือกขายได้ 2 ช่องทางตามข้างบน คือเลือกขายผ่านโซเชียลมีเดียและฝากขายบนเว็บอีคอมเมิร์ซเจ้าดัง เช่น Lazada, Shopee หรือเว็บอื่น ๆ ซึ่งถ้าคุณต้องการขายกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ นั้นต้องพิจารณาตามหลักต่อไปนี้ :-

  • จำนวนผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้งานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสในการขายมากเท่านั้น
  • จำนวนผู้ขายบนช่องทางนั้น ๆ สำหรับข้อนี้แล้วต้องบอกว่า ยิ่งมีคนขายมากเท่าไหร่ การแข่งขันก็ยิ่งสูง ดังนั้นชั่งน้ำหนักจำนวนผู้ใช้งานและจำนวนคนขายให้ดี ๆ
  • ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมในการขายสินค้าส่งผลต่อกำไรของคุณ เพราะฉะนั้นเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของแต่ละแพลตฟอร์มและคำนวณให้ดีว่าขายกับช่องทางไหนคุ้มค่าและได้ผลประกอบการที่น่าพอใจที่สุด
  • ความน่าเชื่อถือ เลือกแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือแลละวางใจได้เพื่อการันตีลูกค้าและยืนยันว่าคุณจะไม่ผิดหวังเมื่อในระยะยาว
  • ความยืดหยุ่น บางเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหรือโซเชียลมีเดียบางอันก็อาจจะมีข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์มากจนอัพเดตไม่ทัน และบางทีคุณก็อาจเผลอทำผิดกฎจนโดนระงับบัญชีผู้ใช้งานได้ เพราะฉะนั้นการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองจึงดีที่สุด เพราะคุณสามารถออกแบบเว็บไซต์ได้เองและทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ

และข่าวดีก็คือ!…คุณสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ ถ้าคุณเลือกใช้ระบบ POS สโตร์ฮับของเรา คุณจะเปิดเว็บขายของออนไลน์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเขียนโปรแกรมอีกด้วย ที่สำคัญยังบริหารจัดการสต๊อกสินค้าได้ครบจบในที่เดียว ไม่ต้องกังวลเรื่องขายสินค้าเกิน เท่านี้การเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ก็ไม่ยากอย่างที่คิดแล้ว

5. ทำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้ตรงใจกลุ่มลูกค้า

กลยุทธ์การตลาดออนไลน์

ภาพจาก Pixabay

เมื่อเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ของคุณเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนการโปรโมทหรือทำการตลาดกันแล้ว เพราะจริงอยู่ที่คุณเลือกขายของออนไลน์กับเว็บดัง โซเชียลมีเดีย หรือว่ามีเว็บเป็นของตัวเอง แต่คุณก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจและรอรับเงินเข้าร้านหากคุณไม่วางแผนการตลาด และเราก็ได้รวบรวมเทคนิคทำการตลาดที่จะช่วยเรียกลูกค้าเก่าและใหม่ ดังนี้ :-

  • ขายสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ ใครจะอยากซื้อสินค้าที่ไม่ตรงปกล่ะ จริงไหม? เพราะฉะนั้นคุณภาพของสินค้าจึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการขายของออนำไลน์ของคุณ
  • รูปภาพต้องคมชัดระดับ HD เท่านั้น ในการซื้อของออนไลน์นั้น ลูกค้าไม่สามารถจับต้องสินค้าจริง ๆ ได้ คุณจึงต้องอัพโหลดภาพสินค้าที่คมชัดระดับ HD เท่านั้น และอัพโหลดภาพสินค้าให้ครบทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้ร้านของคุณน่าเชื่อถือและช่วยให้ลูกค้าช้อปได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
  • เปิดรับความคิดเห็นของลูกค้า เมื่อสินค้าของคุณดีและมีคุณภาพแล้ว ลูกค้าก็จะถูกใจและมีแนวโน้มรีวิวสินค้าในเชิงบวกมากขึ้น และสิ่งนี้เองที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมั่นใจในร้านค้าออนไลน์ของคุณมากยิ่งขึ้น
  • โปรโมทร้านค้าออนไลน์ คุณสามารถโปรโมทร้านและทำให้ร้านเป็นที่รู้จักได้ฟรี ๆ บน Facebook, LINE, Instagram, LinkedIn, Pinterest และ Twitter ซึ่งเคล็ดลับในการเริ่มต้นก็คือ แชร์ภาพและเนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายพร้อมกับสร้าง engagement
  • ส่งตรงโปรโมชั่น ไม่ว่าจะยุคหรือสมัยไหน คำว่า “ส่วนลด”, “โปรโมชั่น”, “แถม” หรือ “ฟรี” ก็ยังเป็นคำที่มีพลังและดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นอย่าลืมวางแผนโปรโมชั่นสินค้าและส่งตรงไปยังอีเมลหรือเบอร์มือถือลูกค้าของคุณ แล้วยอดขายของร้านค้าออนไลน์ของคุณก็จะดีขึ้นแน่นอน! แต่ถ้าจะให้ดี ต้องจัดสินค้าที่ลูกค้าชอบ ซึ่งคุณสามารถดูประวัติการซื้อของของลูกค้าได้ง่าย ๆ จากระบบ POS

สรุป

สำหรับการเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น คุณต้องมีการเริ่มต้นที่ดีและถูกต้องจึงจะขายของออนไลน์ได้ตามที่หวังไว้ ซึ่งทั้ง 5 วิธีนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้กับคุณได้เป็นอย่างดี ทีนี้ก็ถึงตาคุณแล้ว คุณคิดว่าตัวเองพร้อมที่จะเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเองหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้ว อย่ารอช้า รีบลงมือทำและบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ของคุณให้ปังเลยตอนนี้!

CTA - ระบบ POS สโตร์ฮับ โปรแกรมจัดการร้านค้าปลีกและร้านอาหาร

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com