WhatsApp our business consultants: +601117227604

ผลกระทบโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจ B2C ที่คุณต้องรู้!

COVID-19 เศรฐษกิจ ร้านอาหาร ค้าปลีก ผู้ค้ารายย่อย ทำอย่างไร

แม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะทุเลาลงไปเยอะ แต่ผลกระทบโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจในไทยของเราก็ถือว่าหนักพอสมควร เพราะมีหลายเจ้าที่ต้องปิดตัวไป โดยเฉพาะผลกระทบทางธุรกิจ B2C ที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กของท้องถิ่น (Local Business)

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มีอะไรบ้าง ?

สโตร์ฮับอีคอมเมิร์ซภาพจาก Freepik

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จริงๆ ถือว่าแทบทุกภาคส่วน แต่ประเภทของธุรกิจที่เห็นผลชัดเจน คงจะหนีไม่พ้น ธุรกิจการท่องเที่ยว, ธุรกิจค้าปลีก และ ธุรกิจร้านอาหาร เรามาดูกันว่าแต่ละธุรกิจและเศรษฐกิจช่วงโควิดที่ผ่านมาเป็นยังไงกันบ้าง

1. ธุรกิจท่องเที่ยว

สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นธุรกิจแรก ๆ เพราะเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 (COVID-19) เริ่มต้นมาจากต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็เลยส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยไปเลยเต็ม ๆ ทำให้รายได้ของธุรกิจท่องเที่ยวลดลงจนน่าตกใจ

โดยประเทศต้นทาง ที่นิยมเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย หลักๆ มีอยู่ 6 ประเทศ นั่นคือ ญี่ปุ่น, จีน, สิงค์โปร์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, และ มาเลเซีย จากข้อมูลข้างต้น จะเป็นได้ว่า ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาใช้จ่ายในประเทศไทย ส่วนมาก เป็นประเทศกลุ่มความเสี่ยงสูงของโควิด 19 ทั้งนั้น นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การท่องเที่ยวในประเทศไทยซบเซาลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะ ธุรกิจสายการบิน และ ธุรกิจโรงแรม

การถดถอยลงของธุรกิจท่องเที่ยว ย่อมนำมาซึ่งการหดตัวของธุรกิจปลายน้ำ อย่างธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจร้านค้าปลีก เช่น ร้านเสื้อผ้า ร้านเครื่องสำอาง และ ร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นช่องทางการใช้จ่ายของทั้งนักท่องเที่ยวทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ

2. ธุรกิจค้าปลีก และ ศูนย์การค้า

สำหรับธุรกิจค้าปลีก นอกจากกำลังการใช้จ่ายจากต่างชาติจะลดลงแล้ว ภายในประเทศ ประชาชนก็ออกมาใช้จ่ายน้อยลงเช่นกัน จากรายงานของ aCommerce พบว่า กำลังการซื้อสินค้า กลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ผลิตภัณฑ์เสริมความ, และ ผลิตภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อร้านค้ารายย่อย ได้รับผลกระทบอย่างมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อ ผู้ให้บริการพื้นที่เช่นกัน โดยเราสามารถสังเกตได้จาก การลดราคาออกมาตรการช่วยเหลือผู้เช่า โดยการลดค่าเช่าพื้นที่ของบางศูนย์การค้า อย่าง เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ และ เดอะแพลตตินัม แฟชั่นมอลล์ (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2020)

สถานการณ์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ได้ปรากฎในวงกว้างภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เชื่อได้ว่า ผู้บริโภคในภูมิภาคดังกล่าวมีแนวโน้มในการใช้บริการศูนย์การค้าลดลง และหันไปบริโภคสินค้าทางช่องทางอื่น ธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าจึงได้รับผลกระทบโควิด 19 ไปไม่น้อยเช่นกัน

3. ธุรกิจร้านอาหาร

เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่า ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยมีปริมาณลดลง และแนวโน้มที่ประชาชนมีแนวโน้มที่จะออกมาใช้เงินนอกบ้านมาปริมาณลดลง ธุรกิจร้านอาหารที่มีหน้าร้านย่อมได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ไม่ต่างจากร้านค้าปลีก

ผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือการประกาศของธุรกิจร้านอาหารอย่าง ZEN ที่แจ้งว่า จำนวนลูกค้าที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะ เชียงใหม่, พัทยา, และ ภูเก็ต มีปริมาณลดลงไปกว่า 50% ในขณะที่จำนวนลูกค้าในสาขากรุงเทพมหานคร มีจำนวนลดลงอย่างต่ำ 30% “ต่อสาขา” (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2020)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับร้านอาหารขนาดใหญ่เท่านั้น หากแต่ร้านอาหารขนาดเล็กก็อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่องจากร้านอาหารขนาดเล็กเข้าถึงลูกค้าได้น้อยลง ในช่วงเวลาที่ COVID-19 ระบาดรุนแรง

โอกาสทางธุรกิจ B2C ช่วง COVID-19 และหลังการระบาด

ธุรกิจหลัก ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19ภาพจาก Freepik

ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจเหมือนจะแย่จากผลกระทบโควิด 19 นั้น แต่ความจริงแล้ว มีธุรกิจบางประเภท และสินค้าบางอย่างที่กลับมีอัตราการเติบโตที่มากขึ้น ในช่วงเวลานี้ นั้นคือ สินค้าเพื่อสุขภาพ การขายของออนไลน์ และธุรกิจส่งอาหาร

1. ผลิตภัณฑ์​เพื่อสุขภาพ หรือ Healthcare มีแนวโน้มขยายตัว

จากรายงานของ aCommerce ระบุว่าสินค้ากลุ่ม Healthcare มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในช่วง COVID-19 โดยเฉพาะ ปรอทวัดไข้, สบู่ล้างมือ, รวมถึง กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดและป้องกันเชื้อโรคอื่นๆด้วย

สิ่งที่น่าสนใจจากข้อมูลดังกล่าวก็คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รวมไปถึง สินค้ากลุ่ม Premuim ที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจจะแสดงถึงอำนาจการใช้จ่ายภายในประเทศไม่ได้น้อยลง หากแต่เปลี่ยนเป้าหมายไปสู่สิ่งที่สนใจและช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้เท่านั้น

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ หน้ากากอนามัย กลับไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่น่าสนใจ เหตุผลน่าจะเป็นไปได้ว่า ถึงแม้ว่าความต้องการสินค้าจะสูง และมีความเชื่อว่าจำนวนสินค้าที่จำหน่ายมีจำนวนมาก แต่เนื่องจากกลไกด้านราคาต้นทุน อาจะส่งผลให้กำไรต่อหน่วยไม่ได้สูงมากนัก ดังนั้นแม้จะมีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ถ้าจับทางถูกอย่างขายสินค้าประเภทเพื่อสุขภาพก็มีโอกาสฟื้นตัวเช่นกัน

2. การค้าปลีกบนเว็บไซต์ ecommerce

อย่างที่แจ้งไปเบื้องต้น ปัจจุบัน ประชาชนมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายในศูนย์การค้าน้อยลง และในประเทศไทย ประชาชนมีแนวโน้มที่จะใช้บริการขนส่งสาธารณะน้อยลงด้วย ดังนั้น การคาดหวังให้ลูกค้าเดินทางมาสู่ร้านค้าตามปกตินั้น อาจจะเป็นเรื่องยาก

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ธุรกิจขายของออนไลน์ หรือ ecommerce เข้ามามีอิธิพลมากขึ้นในสังคมไทย ดังนั้น นี่จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการในการเริ่มกระโดดเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ทั้งการขายของออนไลน์ และ การโปรโมทร้านค้าและสินค้าผ่านโซเชี่ยลมีเดีย จะกลายเป็นทางเลือกที่มีความสำคัญมากขึ้นในสถานการณ์นี้

โอกาสของผู้ค้ารายย่อย อาจจะเป็นการนำสินค้าไปแสดงอยู่บนแพลตฟอร์ม Marketplace ต่างๆ เช่น Lazada และ Shopee หรือแม้แต่การสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองเพื่อแสดงสินค้า โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Instagram เป็นตัวช่วยในการเพิ่มการมองเห็นร้านค้า และสินค้า ได้ด้วย

3. การทำธุรกิจอาหารในลักษณะ Food Delivery

อีกหนึ่งผลกระทบโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจคือ ลูกค้าร้านอาหารไม่สามารถเดินทางมาทานอาหารที่ร้าน หรือไม่กล้าออกบ้านมากนัก แต่ในธุรกิจร้านอาหาร ก็มีการเปลี่ยนวิธีการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้า เป็นการส่งอาหารให้ถึงมือลูกค้ามากขึ้นผ่านแพลตฟอร์ม Food Delivery โดยมีความเชื่อว่าธุรกิจส่งอาหารผ่าน Application ยังมีความเติบโตของยอดสั่งซื้ออยู่ อย่าง Grab Food, Food Panda, และ Lineman

ดังนั้นนี่อาจจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการร้านอาหาร รวมไปถึงร้านเครื่องดื่ม ในการเพิ่มยอดขายในระหว่างนี้ โดยการนำร้านของคุณเข้าไปแสดงผลบน Application สั่งอาหารออนไลน์ดังกล่าว โดยอาจจะมีค่าบริการเป็นส่งแบ่งจากยอดขายไม่ต่ำกว่า 20% ของยอดสั่งซื้อทั้งหมด

อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การติดต่อบริษัทขนส่งอาหารด้วยตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงค่าบริการข้างต้น แต่การใช้วิธีนี้ เจ้าของธุรกิจต้องมีแผนเตรียมพร้อมเรื่องการกระจายข้อมูลถึงลูกค้าในทางเลือกการสั่งอาหารของทางร้าน โดยบริษัทขนส่งอาหารที่ได้รับความนิยม อาจจะเป็น Lalamove และ Skootar

ทำอย่างไรให้ร้านค้าและร้านอาหารอยู่ได้ในช่วงโควิด

ถึงแม้จะล่วงเลยมาจนถึงช่วงสิ้นปี 2020 แล้ว และเศรษฐกิจก็อาจจะดูมีแนวโน้มที่น่าจะดีขึ้นภายในประเทศ แต่ถ้าดูในภาพกว้างขึ้น เศรษฐกิจโดยรวม ไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจขนาดย่อม อย่างร้านค้าปลีก และร้านอาหารที่เป็นปลายทางของธุรกิจ B2C คำถามคือ ร้านค้าเหล่านี้ควรจัดการร้านค้าและร้านอาหารอย่างไร เพื่อทรงตัวให้อยู่ได้ในช่วงโควิด ในระหว่างที่เรารอข่าวอัพเดทเรื่องวัคซีนโควิด 19 ล่าสุด อย่างใจจดใจจ่อ

1. การใช้ โปรแกรม หรือ POS System เข้ามาช่วยจัดการร้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายการจ้างพนักงาน

ไอเดียสำคัญของการจัดการร้าน เพื่อลดผลกระทบโควิด 19 นั่นคือเรื่องของการ ลดค่าใช้จ่าย และค่าใช้จ่ายอันดับต้น ๆ ของร้านค้าและร้านอาหาร นั่นคือ เงินเดือนพนักงาน หากต้องการลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แน่นอนว่าต้องใช้เทคโนโลยีบางอย่างเข้ามาช่วยจัดการร้านค้า นั่นก็คือ ระบบจัดการร้านค้า Point Of Sales System หรือ POS

การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการร้าน แน่นอนว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องของพนักงาน และ ยังช่วยลดเวลาการทำงานของเจ้าของร้านได้ ไม่ต้องทำงานแบบนับด้วยมือ หรือ ระบบ Manual ทำให้มีความแม่นยำเรื่องการคำนวนตัวเลยมากกว่า อีกทั้งยังเก็บข้อมูลร้านของคุณในระบบและบนคลาวด์

ฟีเจอร์พื้นฐานที่ระบบ POS ต้องทำได้

  • การจัดการสต๊อกสินค้า
  • การสรุปยอดขายรายวันและรายเดือน
  • การทำโปรโมชั่น
  • การเก็บข้อมูลและทำระบบสมาชิก
  • ระบบช่วยควบคุมการทำงานของพนักงาน
  • การจัดการกับ Supplier
  • จัดการได้ทั้งร้านอาหารและร้านค้าปลีก
  • จัดการได้ทั้งหน้าร้านและออนไลน์

2. การทำร้านค้าออนไลน์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้ Marketplace

การขายของบน Application หรือ Website ที่เป็น Marketplace อาจมีค่าคอมมิชชั่น หรือ ค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจุดนี้คือเป็นค่าใช้จ่ายของทางร้าน ผลกระทบทางตรงเกิดขึ้นกับธุรกิจค้าปลีกเป็นหลัก ดังนั้น หากร้านค้าปลีกมีความต้องการลดค่าใช้จ่ายในจุดนี้ การทำร้านค้าออนไลน์ หรือ ระบบ ecommerce เป็นของตนเองอาจเป็นคำตอบ และ เป็นการสร้างตัวตนของธุรกิจในระยะยาว เพราะไม่ต้องพึ่งพา Marketplace ตลอดเวลา และสามารถควบคุมค่าใช้จ่าย ทั้งเรื่องการโฆษณา การขนส่ง และ โปรโมชั่น ซึ่งจะทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถควบคุมรายจ่าย และ รู้จุดคุ้มทุนได้ง่ายมากขึ้น

และหากต้องการขายของออนไลน์ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ทางทีมงานเราได้รวบรวมไว้แล้ว คลิกอ่านที่นี่ >>เช็คลิสต์ทำเว็บไซต์<<

3. หากเป็นร้านอาหาร ควรจัดการ Delivery ด้วยตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายใน GP ที่อาจสูงถึง 30%

เรื่องนี้เป็นกระแสบนโลกโซเชียลอย่างหนัก ในสมัยที่มีการระบาดของโควิด 19 ใหม่ ๆ เพราะการขายอาหารผ่าน Food Delivery Application อาจมีค่าใช้จ่ายในลักษณะ GP สูงถึง 30% อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>เทียบค่าดำเนินการ Food Delivery<<

ซึ่งการเสียค่าดำเนินการถึง 30% ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่มีอัตราค่อนข้างสูงสำหรับร้านอาหาร ดังนั้น การจัดการระบบ Food Delivery ที่เป็นของร้านค้าเอง จึงมีความสำคัญเหมือนการทำระบบ ecommerce ของร้านค้าปลีก เพราะนอกจากจะสามารถจัดการเรื่อง ราคา และ ค่าขนส่ง ได้ด้วยตนเองแล้ว ยังสามารถแสดง Position ของร้านอาหารของคุณบนโลกออนไลน์ได้ในระยะยาวอีกด้วย

สรุปผลกระทบโควิด 19 ต่อเศรฐกิจไทย

การปรากฏตัวขึ้นของ COVID-19 หรือ ไวรัสโคโรน่า ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทย และผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้างน่าจะเป็นธุรกิจรายย่อย ทั้งร้านอาหาร และ ร้านค้าปลีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่เห็นโอกาสในวิกฤตเลย ดังนั้น การปรับตัวของผู้ประกอบการต่อสถานการณ์เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะแผนการดำเนินงานระยะสั้นเมื่อสถานการณ์มาถึง ทั้งนี้ ทาง StoreHub ยังมีความเชื่อว่า โอกาสของธุรกิจรายย่อยยังคงมีอยู่ แค่เปลี่ยนหรือเพิ่มวิธีการในการจัดจำหน่าย และ คัดเลือกสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดในช่วงเวลานี้

ระบบจัดการหน้าร้านสโตร์ฮับ

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com