WhatsApp our business consultants: +601117227604

ถอด 5 บทเรียนสำคัญจากวิกฤตโควิด-19 สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

ถอด 5 บทเรียนสำคัญจากวิกฤตโควิด-19 สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

หลังจากที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 (COVID-19) มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจของโลกถดถอยครั้งใหญ่อีกครั้ง เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก ต่างก็โดนพิษโควิด-19 กันทั้งนั้น โดยเฉพาะธุรกิจ SME วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมที่เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจไทย 

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เราต้องยอมรับว่ามีผู้ประกอบการรายย่อยหลายรายที่สู้ไม่ไหวจนต้องปิดตัวไป แต่ก็มีหลายรายที่ปรับตัวกันทุกวิธีทางจนค่อย ๆ พยุงร้านให้กลับมามียอดขายได้อีกครั้ง วันนี้เราจึงจะพามาถอด 5 บทเรียนสำคัญจากวิกฤตโควิด-19 มาดูกันว่าธุรกิจขนาดเล็กได้อะไรจากตรงนี้

1. ร้านค้าออนไลน์ แหล่งรายได้ที่ทิ้งไม่ได้

บทเรียนโควิด-19 ร้านค้าออนไลน์คือสิ่งที่ทิ้งไม่ได้

ภาพจาก Pixabay

จากเดิมที่ลูกค้ารักในความสะดวกสบายอยู่แล้ว เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ลูกค้ากลัวที่จะออกบ้านหรือเดินทางไปจับจ่ายใช้สอย ธุรกิจขนาดเล็กก็หันมาให้ความสำคัญของอีคอมเมิร์ซหรือเว็บไซต์ขายของออนไลน์กันมากขึ้น เพราะนี่คือทางเดียวที่จะช่วยให้ร้านกับลูกค้าเข้าถึงกันได้ในช่วงนี้

ดังนั้นผู้ประกอบการจึงเลือกที่จะฝากขายสินค้าบนมาร์เก็ตเพลสอย่างลาซาด้าและช้อปปี้ ขายบนเฟสบุ๊คและไอจี หรือบางรายก็ใช้ประโยชน์จากระบบจัดการร้าน POS ที่มี แล้วเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเอง พร้อมโปรโมทผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของร้าน

เพราะเมื่อโดนจำกัดการขายหน้าร้านแล้ว ร้านออนไลน์ก็เป็นเพียงทางเดียวที่พอจะเพิ่มรายได้ให้กับร้านได้ เพราะฉะนั้นแม้โควิด-19 จะจบไป ร้านค้าออนไลน์ก็ยังคงเป็นแหล่งรายได้ที่ผู้ประกอบการจะต้องมีควบคู่กับหน้าร้าน อีกอย่าง เราเชื่อว่าลูกค้าบางกลุ่มก็จะยังไม่วางใจ 100% ที่จะออกมาซื้อของหรือช้อปปิ้งหลังวิกฤตนี้อยู่ดี

2. หมดยุครอลูกค้า เข้าถึงง่ายขึ้นด้วย Food Delivery

บทเรียนโควิด-19 หมดยุครอลูกค้า เข้าถึงง่ายขึ้นด้วย Food Delivery

ร้านอาหารหลายร้านทั้งร้านเล็ก กลาง ใหญ่ หรือแม้กระทั่งร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านข้าวต้ม และร้านอาหารตามสั่งเอง จากที่ไม่เคยมีบริการสั่งอาหารออนไลน์ หรือฟู้ด เดลิเวอรี่ (Food Delivery) มาก่อน ต่างก็หันมาพึ่งวิถีเดลิเวอรี่ในช่วงนี้ 

นอกจากร้านอาหารแล้ว ก็ยังมีร้านเครื่องดื่ม คาเฟ่ และบาร์ ปรับตัวเข้าหาลูกค้าเช่นกัน เพราะแทนที่จะนั่งรอลูกค้าให้มาซื้ออาหารกลับบ้านเพียงอย่างเดียว ร้านเหล่านี้ก็ส่งตรงความอร่อยถึงหน้าบ้านลูกค้าด้วย

ในความโชคร้ายนี้ ก็ยังมีความโชคดี ที่มีแพลตฟอร์ม Food Delivery หลายเจ้าที่ออกแบบระบบมาเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารเหล่านี้โดยเฉพาะ เว็บสั่งอาหารออนไลน์บางเจ้าที่เสนอค่าดำเนินการแสนถูกเพื่อให้ร้านอาหารรายน้อย-ใหญ่มีกำไรและมีเงินเหลือไปจ่ายค่าพนักงาน หรือบริหารจัดการร้านในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังเสนอตัวเลือกในการจัดส่ง ให้ร้านอาหารเรียกใช้ไรเดอร์จากทางแพลตฟอร์ม หรือจะส่งอาหารให้ลูกค้าเองก็ได้

3. การสร้างความเชื่อมั่นและใส่ใจลูกค้ายังสำคัญเสมอ

บทเรียนโควิด-19 การสร้างความเชื่อมั่นและใส่ใจลูกค้ายังสำคัญเสมอ

ภาพจาก Freepik

ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังโควิด-19 การมีตัวตนของร้าน และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญเสมอมา ซึ่งร้านอาหารเองสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น แจกใบปลิว มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า อัพคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย ให้ความรู้ หรือจะแชร์เบื้องหลังการเตรียมส่งของและเตรียมอาหารแต่ละจานก็ได้ เมื่อลูกค้าเห็นถึงความใส่ใจ พวกเขาก็จะวางใจและสั่งสินค้าหรืออาหารจากร้านมากขึ้น 

นอกจากนี้คุณอาจจะต้องมองหากลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างโปรโมชั่นพิเศษช่วงล็อคดาวน์ มีเซ็ตครอบครัว ส่งเซอร์ไพรส์ลูกค้า แจกฟรีสินค้า ขนม หรือเครื่องดื่มเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างความประทับใจ ให้ลูกค้าเห็นว่าไม่ใช่แค่พวกเขาที่อยากซัพพอร์ตร้านโปรด แต่ร้านก็ต้องการซัพพอร์ตลูกค้าด้วยเช่นกัน

4. การเงินที่แข็งแกร่ง จะนำมาซึ่งความอยู่รอด

บทเรียนโควิด-19 การเงินที่แข็งแกร่ง จะนำมาซึ่งความอยู่รอด

ภาพจาก Unsplash

แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยจากทางรัฐบาล แต่กว่าผู้ประกอบการจะยื่นเรื่องและได้เงินช่วยเหลือนี้ก็ใช้เวลาอยู่พอสมควร หรือแม้ว่าธนาคารหลายแห่งจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 แต่ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อดูข้อกำหนดและเงื่อนไขของทางธนาคาร ก็จะเห็นว่าลูกค้าที่มีเครดิตดีเท่านั้นจึงจะเข้าเกณฑ์และได้รับการช่วยเหลือเป็นอันดับแรก ๆ 

ดังนั้นธุรกิจขนาดเล็กจึงจำเป็นต้องมีเงินสำรองเอาไว้หมุนเผื่อเกิดวิกฤตการณ์เช่นนี้อีก ซึ่งสิ่งที่ช่วยคำนวณรายรับ-รายจ่ายหรือการทำงานแบบอัตโนมัติอย่างระบบ POS จะช่วยให้ผู้ประกอบการวางแผนการเงินในร้านได้ง่ายขึ้น และเมื่อมีการเงินที่แข็งแกร่งแล้ว ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน ผู้ประกอบการก็จะผ่านไปได้แน่นอน

5. ต้องเร็วและรู้จักรุก

บทเรียนโควิด-19 ต้องเร็วและรู้จักรุก

ภาพจาก Freepik

ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ที่จะมองสถานการณ์ให้เป็นตั้งแต่เนิ่น ๆ คือรู้จักสัญญาณเตือนต่าง ๆ เพื่อจะได้ปรับตัวเร็ว เพราะเมื่อเจอโควิด-19 เล่นงานเศรษฐกิจไปทั่วโลกแบบนี้ บอกเลยว่าธุรกิจร้านค้าที่ปรับตัวเท่านั้นจึงจะไปต่อได้

อย่างในสถานการณ์ที่ผ่านมา เราก็เห็นแล้วว่าร้านค้าออนไลน์และบริการ Food Delivery แทบจะเป็นช่องทางหลักทางเดียวในการขาย เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการจะต้องทำเว็บออนไลน์ให้น่าช้อปมากที่สุด ส่วนร้านอาหารก็ต้องเข้าร่วมบริการแพลตฟอร์มส่งอาหารเดลิเวอรี่ที่น่าเชื่อถือ รวดเร็ว และมีค่าดำเนินการที่เหมาะสม

นอกจากนี้ก็อาจจะหันมาขายสินค้าจำเป็น เช่น ยาและเวชภัณฑ์, หน้ากากอนามัย, เจลล้างมือ, กาแฟ, ผัก ผลไม้, ไข่ไก่ ฯลฯ เพราะเมื่อลูกค้าโดนจำกัดให้อยู่บ้านเป็นส่วนมาก ทางเดียวที่ลูกค้าจะซื้อของกินของใช้ก็คือเว็บไซต์ขายของออนไลน์และบริการเดลิเวอรี่นั่นเอง ดังนั้นหากผู้ประกอบการคนไหนมองเกมออกตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะวางแผนและลงมือทำได้เร็ว คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 หรือสถานการณ์ไหน ๆ ก็เอาตัวรอดได้ไม่ยาก

สุดท้ายนี้เราขอนับถือหัวใจที่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการทุกคนที่ไม่ยอมแพ้และปรับตัวกันมาจนสถานการณ์ที่ไทยเราดีขึ้นเรื่อย ๆ และก็ขอให้กำลังใจผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องปิดกิจการไปเพราะพิษโควิด-19

เราเชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ได้สอนอะไรให้กับคนทำธุรกิจหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ประกอบการต่างได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ได้ค้นพบศักยภาพของตัวเองมากขึ้น และได้แม้กระทั่งวิธีขายสินค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเราเชื่อว่าเมื่อโควิด-19 จบลง ผู้ประกอบการรายย่อย และธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ จะกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมแน่นอน

Beep Delivery ฟีเจอร์ Food Delivery สำหรับร้านอาหาร โดยระบบ POS สโตร์ฮับ

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com