WhatsApp our business consultants: +601117227604

อยากขายของออนไลน์ ? นี่คือ 11 เช็คลิสต์ทำเว็บไซต์ที่มือใหม่อย่างคุณต้องอ่าน !

เช็คลิสต์สำหรับเปิดร้านขายของออนไลน์

คุณกำลังคิดอยากขายของออนไลน์อยู่หรือเปล่า ?

การเปิดตัวเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ประทับใจในแบรนด์ของคุณ แล้วหน้าเว็บยังเป็นเหมือนพื้นที่ที่เปิดให้ลูกค้าเข้ามาทำความรู้จักคุณ รู้ว่าร้านของคุณขายอะไร และร้านคุณจะตอบโจทย์พวกเขาได้ยังไงอีกด้วย

แล้วถ้าลูกค้าเข้ามาที่เว็บขายของออนไลน์และชอบสินค้าของคุณ พวกเขาก็จะดูหน้าอื่น ๆ บนเว็บของคุณ จะติดต่อสอบถามข้อมูลกับคุณ หรือแม้กระทั่งซื้อสินค้าของคุณด้วยเช่นกัน

เรารู้ว่าการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วเจ้าของธุรกิจก็อาจจะจะข้ามขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำเว็บไซต์โดยไม่รู้ตัว

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวันนี้เรามี 11 เช็คลิสต์เว็บไซต์มาฝากเจ้าของธุรกิจที่กำลังวางแผนขายของออนไลน์นั่นเอง ! 

ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูดีกว่าว่ามีเช็คลิสต์ไหนบ้างที่มือใหม่อย่างคุณต้องมีในเว็บไซต์ของคุณ รับรองว่าถ้าอ่านจบคุณจะเปิดร้านค้าออนไลน์ดีไซน์สวยงามน่าโดนได้ในไม่กี่คลิกแน่นอน !

1. แบนเนอร์

แบนเนอร์เว็บไซต์ขายของออนไลน์

ภาพจาก Empowerlife และ Character Studio

อย่างที่เรารู้กันดีว่า แบนเนอร์ หรือ ป้ายโฆษณา เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของเว็บไซต์ เพราะเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าจะเห็นเมื่อคลิกเข้ามาที่กน้าเว็บ และแบนเนอร์ของคุณก็ควรอยู่ที่ด้านบนของหน้าเว็บด้วย

ซึ่งต่อไปนี้ก็คือแนวทางที่คุณควรทำตามเมื่อทำแบนเนอร์เว็บ :-

  • ขนาดแนะนำของแบนเนอร์อยู่ที่ 1440 x 420 พิกเซล
  • ใส่ภาพสวยงามบนแบนเนอร์ ซึ่งภาพนั้นจะต้องบอกลูกค้าได้ว่าเว็บของคุณเป็นเว็บขายอะไรและมีสินค้าอะไรบ้าง (อาจจะเป็นสินค้าขายดี สินค้ามาใหม่ หรือโปรโมชั่นก็ได้)
  • มีปุ่ม Call-to-Action หรือข้อความชวนคลิก เช่น “ซื้อสินค้ามาใหม่ของเรา” “ซื้อเลยตอนนี้” และ “โทรหาเราตอนนี้” เป็นต้น
  • แบนเนอร์ของคุณต้องดูสะอาดตาและเป็นที่น่าจดจำ จะได้ดึงดูดลูกค้าได้อย่างเต็มที่และชวนคลิกยิ่งขึ้น
  • ใส่ความเป็นแบรนด์ลงไปในแบนเนอร์ของคุณด้วย (เช่น โลโก้ สี และแท็กไลน์ เป็นต้น)

แล้วถ้าคุณไม่รู้ว่าต้องทำแบนเนอร์เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของคุณยังไง ก็ลองใช้แบนเนอร์เว็บไซต์ฟรีของ Canva ดูสิ

2. สินค้าเด่น/สินค้าขายดี

โชว์สินค้าขายดีหรือสินค้าเด่นบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก Pomelo

อย่าลืมแสดงสินค้าที่หลากหลายบนหน้าโฮมเพจหรือหน้าหลักของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าขายดีหรือสินค้ามาใหม่

หรือถ้าร้านของคุณมีสินค้าเยอะ ก็สามารถจัดระเบียบและจัดประเภทสินค้าเป็นคอลเลคชั่นในแต่ละแท็บของหน้าเว็บก็ได้

ส่วนเคล็ดลับในการจัดประเภทสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็คือ จัดสินค้าที่ขายดีที่สุดและสินค้าที่ลูกค้าสนใจมากที่สุดให้อยู่บนแท็บคอลเลคชั่นแรก เช่น จัด “เดรส” ให้อยู่แท็บแรก ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง

และต่อไปนี้ก็คือคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการจัดคอลเลคชั่นสินค้าของคุณ :-

  • จัดสินค้าในหมวดหมู่ทั่วไป (เช่น ร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ ก็จะเป็นเดรส เสื้อ และยีนส์ แต่ถ้าเป็นร้านอาหารก็จะเป็น อาหารเรียกน้ำย่อย, อาหารจานหลัก, ของหวาน และเครื่องดื่ม เป็นต้น)
  • สินค้ามาใหม่
  • สินค้าล็อตสุดท้าย
  • สินค้าลดราคา
  • โปรโมชั่นพิเศษ

3. รูปสินค้า

มีรูปสินค้าบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก Adidas Thailand

อย่าลืมมีรูปภาพประกอบสินค้าแต่ละอันด้วย ลูกค้าจะได้เห็นภาพชัดเจนว่าสินค้าจริงหน้าตาแบบไหน อีกอย่างถ้าเว็บขายของออนไลน์ของคุณไม่มีรูปสินค้า ก็อาจจะดูไม่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าและทำให้พวกเขาไม่มั่นใจในร้านของคุณก็ได้

แล้วรูปสินค้าที่สวยคมชัดนั้นก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเป็นอย่างมากเลยละ

แต่ก่อนจะอัพโหลดรูปสินค้าบนหน้าเว็บร้านค้าออนไลน์หรือเว็บอีคอมเมิร์ซของคุณนั้น ก็ต้องไม่ลืมข้อสำคัญดังต่อไปนี้ :-

  • อัพรูปที่สวยความชัดและผ่านการย่อขนาดมาแล้วเรียบร้อย
  • ขนาดภาพที่แนะนำได้แก่ 800 x 800 พิกเซล
  • ต้องมั่นใจว่าแสงสวยมากพอสำหรับการถ่ายรูปสินค้า พยายามจัดแสดงสินค้าในภาวะแสงที่ลงตัวและมุมที่ดีที่สุด
  • รูปมุมต่าง ๆ ของสินค้าก็จำเป็นเช่นกัน (เช่น ด้านหน้าและหลังของเสื้อผ้า)
  • ทำให้ลูกค้าเห็นภาพการใช้งานสินค้า (เช่น ถ้าเป็นเสื้อผ้าก็ต้องมีรูปนายแบบหรือนางแบบที่ใส่ชุดนั้น ๆ )

4. คำอธิบายสินค้า

มีคำอธิบายสินค้าบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก SHEIN Thailand

ในส่วนของสินค้า/บริการแต่ละอย่างนั้น คุณจำเป็นต้องอธิบายในรายละเอียดของสินค้าด้วย เพื่อให้ลูกค้ารู้ว่าในสินค้านั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้างหรือว่าผลิตจากวัสดุประเภทไหน ซึ่งคำอธิบายสินค้านี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้ข้อมูลสินค้ารวมถึงบอกให้พวกเขารู้ว่าทำไมสินค้าชิ้นนี้ถึงควรค่าแก่การครอบครอง

ลองขายโดนเน้นถึงข้อดีต่าง ๆ ของสินค้า ซึ่งตัวอย่างข้อมูลที่คุณควรมีในคำอธิบายสินค้าก็ได้แก่

  • วัสดุที่ใช้ในการผลิต
  • คู่มือไซส์
  • สี
  • ข้อดี/ประโยชน์หลัก ๆ ของสินค้า
  • คุณค่าทางโภชนาการ
  • รีวิวลูกค้า
  • เรตติ้งสินค้า

5. Call-to-Action

มีปุ่ม CTA เพื่อกระตุ้นการกระทำบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก Sephora Thailand

อย่าลืมมีปุ่ม Call-to-Action ของรูปสินค้าแต่ละรายการด้วย เมื่อลูกค้าสนใจสินค้าจะได้รู้ว่าต้องทำยังไงต่อ อาจจะเป็นปุ่ม “ซื้อตอนนี้” หรือ “เพิ่มสินค้าไปยังตะกร้า” ก็ได้ เพราะอย่าลืมว่าคุณอยากให้ลูกค้าซื้อของที่เว็บของคุณเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมสินค้า

จริง ๆ แล้วคุณควรจะมีปุ่ม Call-to-Action ในทุก ๆ หน้าของเว็บไซต์ หรือจะเป็นแค่ปุ่ม “ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม” ก็ได้ 

เพราะถ้าไม่มีปุ่ม Call-to-Action แล้ว ลูกค้าของคุณก็จะทำได้แค่เชยชมสินค้าและทำอย่างอื่นไม่ได้เลยยังไงละ !

6. ลิงค์โซเชียลมีเดีย

มีลิงค์โซเชียลมีเดียบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก Nobicha

มีเจ้าของธุรกิจหลายเจ้าที่ลืมลิงค์แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เพราะไม่ว่าจะเป็น Facebook ของร้าน, Instagram, Twitter หรือ YouTube ต่างก็สำคัญทั้งนั้น ดังนั้นอย่าลืมใส่ลิงค์ของโซเชียลมีเดียเหล่านี้ไว้บนหน้าเว็บขายของออนไลน์ของคุณด้วย !

ทำไมนะหรอ ?

นั่นก็เพราะว่าโซเชียลมีเดียเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และการที่คุณลิงค์โซเชียลมีเดียของร้านไว้บนเว็บไซต์ ก็จะช่วยให้ร้านของคุณมีคนติดตามมากยิ่งขึ้น ! ทั้งยังช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์รู้จักร้าน ภาพลักษณ์ และตัวตนของแบรนด์ได้ดีขึ้นผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเหล่านี้ด้วย

นอกจากนี้การลิงค์โซเชียลมีเดียต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของคุณยังช่วยให้ร้านคุณติดอันดับบน Google หรือ Search Engine ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นด้วย ! และสิ่งนี้เองที่จะทำให้มีคนเข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าออนไลน์มากกว่าเดิมและเพิ่มยอดขายของร้านคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น !

7. หน้าเกี่ยวกับเรา

มีหน้าเกี่ยวกับเราบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก YAYOI

ในขณะที่มีเจ้าของธุรกิจหลายเจ้าคิดว่าหน้า “เกี่ยวกับเรา” ไม่สำคัญนั้น จริง ๆ แล้วมีลูกค้าหลายคนที่อยากทำความรู้จักร้านค้าของคุณให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าบนเว็บขายออนไลน์ของคุณ

ดังนั้นอย่าลืมเขียนเล่าเรื่องราวของแบรนด์ที่เชื่อมโยงกับลูกค้า พนักงาน หรือจะเป็นผู้ที่ลงทุนให้กับบริษัทของคุณก็ได้

และต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่คุณควรเขียนบนหน้า “เกี่ยวกับเรา” บนเว็บไซต์ของคุณ :- 

  • ความเป็นมาของร้านสั้น ๆ บอกว่าคุณเริ่มต้นทำร้านยังไงและอะไรที่ทำให้ตัดสินใจทำ
  • ผู้ก่อตั้งคือใคร
  • ก่อตั้งเมื่อไหร่
  • แบรนด์ของคุณยึดมั่นในเรื่องของอะไร
  • แบรนด์ของคุณอยากประสบความสำเร็จในเรื่องของอะไร
  • วิดีโอสั้น ๆ บอกเล่าเรื่องราว

ซึ่งการมีหน้า “เกี่ยวกับเรา” นี้เองที่สร้างแก่นแท้ให้กับแบรนด์ของคุณและช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในหมู่ลูกค้าได้ ถ้าลูกค้าเห็นว่าร้านของคุณมีค่านิยมที่ดีและเชื่อถือได้ ก็จะช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บของคุณได้ง่ายขึ้น

8. ข้อมูลการติดต่อ

ใส่ข้อมูลการติดต่อบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก Urban Dance Studio

อย่าลืมแสดงข้อมูลการติดต่อไว้บนหน้าเว็บไซต์ของคุณด้วย เผื่อลูกค้ามีข้อสงสัยจะได้หาเจอและติดต่อคุณได้ทันที

โดยข้อมูลที่ว่านี้ก็อาจจะเป็น

  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล
  • Whatsapp
  • Line
  • ที่อยู่ (พร้อมแสดงแผนที่)

หากลูกค้ามีข้อสงสัยใด ๆ หรือต้องการขอคำแนะนำเพิ่มเติม พวกเขาก็จะขอความช่วยเหลือได้โดยตรงจากข้อมูลการติดต่อบนหน้าเว็บของคุณ ซึ่งถ้าพวกเขาอยากไปที่หน้าร้านของคุณ ก็สามารถหาที่อยู่และเส้นทางที่แสดงบนแผนที่ได้ที่หน้าเว็บเลย

ซึ่งเพื่อให้ลูกค้าหาข้อมูลการติดต่อบนเว็บได้เร็วขึ้น คุณก็ต้องแสดงข้อมูลนี้ไว้บนจุดที่สังเกตได้ง่าย

9. หน้า FAQ

มีหน้า FAQ ถาม-ตอบคำถามยอดฮิต

ภาพจาก LOOKSI

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหรือเว็บขายของออนไลน์ของคุณควรมีหน้าเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่ตอบคำถามที่พบบ่อยของลูกค้า โดยจะเป็นข้อมูลที่ลูกค้ามักจะถามและอยากรู้เกี่ยวกับร้านค้าหรือว่าสินค้าของคุณ ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้ก็ได้แก่

  • วิธีการจ่ายเงิน
  • ตารางไซส์
  • ข้อมูลการจัดส่ง
  • การติดตามการจัดส่ง
  • นโยบายการคืนเงิน/สินค้า
  • นโยบายการเปลี่ยนสินค้า

การมีหน้า FAQ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ลูกค้าของคุณประหยัดเวลาในการหาข้อมูลเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ร้านของคุณประหยัดเวลาได้เพราะไม่ต้องตอบคำถามเดิม ๆ หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากลูกค้าสามารถหาคำตอบเองได้ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากคุณ

10. ข้อกำหนดและเงื่อนไข

มีหน้าแสดงข้อกำหนดและเงื่อนไขบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก Shopee Thailand

คุณต้องแน่ใจว่าร้านค้าออนไลน์ของคุณมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ปกป้องร้านของคุณจากการฉ้อโกงหรือลูกค้ามิจฉาชีพ โดยบอกข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน และต้องเป็นภาษาที่ลูกค้าเข้าใจง่ายด้วย

ถ้าคุณไม่รู้ว่าต้องเขียนข้อกำหนดและเงื่อนไขยังไง ก็อาจจะใช้ตัวช่วยในการเขียนข้อกำหนดและเงื่อนไขออนไลน์ที่มีเทมเพลตและแบบฟอร์มต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อยก็ได้ แค่ทำตามขั้นของเว็บไซต์ แล้วใส่ข้อกำหนดและเงื่อนไขของร้านคุณลงไป เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว

11. ตัวเลือกการค้นหา

มีช่องค้นหาสินค้าบนหน้าเว็บไซต์

ภาพจาก ZILINGO

สุดท้ายนี้ อย่าลืมจัดวางข้อมูลหรือโครงสร้างเว็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและใช้ง่าย ลูกค้าที่เข้ามาหน้าเว็บจะได้หาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

แล้วการมีข้อมูลเยอะแยะมากมายนั้นจะไม่ช่วยอะไรถ้าลูกค้าของคุณหาสิ่งที่พวกเขาต้องการไม่เจอ

ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น คุณควรมี “ตัวเลือกการค้นหา” หรือ “ช่องค้นหา” ไว้ด้านบนหน้าเว็บด้วย

โดยตัวช่วยนี้จะทำให้ลูกค้าหาสินค้าบนเว็บหรือเจอข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกหน้าบนเว็บจองคุณเลยละ เพราะแน่นอนว่าถ้าลูกค้าต้องทำอย่างนั้น พวกเขาต้องอารมณ์เสียและออกจากเว็บของคุณแน่ ๆ 

แล้วคุณก็ต้องเช็คให้แน่ใจว่า ตัวเลือกการค้นหาหรือช่องค้นหาของคุณทำงานได้อย่างถูกต้องเพราะผลลัพธ์ที่ได้ควรตรงต่อความต้องการและตรงใจลูกค้าด้วย

หรือถ้าต้องการเปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี พร้อมกับมีโปรแกรมขายที่เอาอยู่ทั้งหน้าร้านและหลังบ้าน สามารถเลือกใช้ระบบ POS สโตร์ฮับได้เลย แล้วคุณจะขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์พร้อมกันได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญไม่ต้องจ้างนักเขียนโปรแกรมหรือออกแบบเว็บไซต์เองให้เสียเวลา เพราะระบบหลังบ้านสโตร์ฮับมีเทมเพลตให้สร้างร้านค้าออนไลน์ได้ด้วยตัวคุณเองง่าย ๆ เพียงไม่กี่คลิกwink

CTA - ระบบ POS สโตร์ฮับ โปรแกรมจัดการร้านค้าปลีกและร้านอาหาร

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com