WhatsApp our business consultants: +601117227604

วิเคราะห์เศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่พร้อมแนะ 5 วิธีเพิ่มยอดขายสำหรับเจ้าของร้านค้าปลีก

วิเคราะห์เศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่พร้อมแนะ 5 วิธีเพิ่มยอดขายสำหรับเจ้าของร้านค้าปลีก

รู้ไหมว่าเชียงใหม่เป็นเมืองปราบเซียนของธุรกิจรายใหญ่และรายย่อย ?

นั่นก็เพราะว่าเมื่อดูเผิน ๆ แล้ว ดูเหมือนเศรษฐกิจของจังหวัดนี้น่าจะเหมาะกับการทำธุริจประเภทต่าง ๆ มากที่สุดอีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากมีการท่องเที่ยวที่ดูคึกคักและผู้คนพลุกพล่านไม่ต่างจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพเลย แต่ความจริงแล้วกลับไม่เป็นอย่างที่คิดเพราะมีธุรกิจและร้านค้าปลีกหลายเจ้าที่ต้องปิดตัวลงในเมืองเชียงใหม่

และคำถามของเราวันนี้ก็คือ ในฐานะเจ้าของร้านค้าปลีกขนาดเล็กแล้ว คุณจะต้องทำยังไงให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดและมียอดขายมากขึ้นโดยไม่หวั่นแม้จะมีคู่แข่งเยอะ ?

ดังนั้นในบทความนี้เราจึงอาสาพามาวิเคราะห์เศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่พร้อมแนะ 5 วิธีเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจร้านค้าปลีกของคุณอยู่รอดในยุคที่มีคู่แข่งสูงนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูดีกว่าว่ามีอะไรที่เจ้าของร้านค้าปลีกในเชียงใหม่เช่นคุณต้องตระหนักและปรับตัวกันบ้าง

โจทย์ข้อที่ 1: มีธุรกิจเปิดใหม่แต่ไม่มีกำลังซื้อ

ภาพโดย Josch13 จาก Pixabay

จากการศึกษาของ sale100million.com นั้นพบว่า มีธุรกิจผุดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่มากมายเหมือนดอกเห็ดทั้งธุรกิจโรงแรมที่พัก, ธุรกิจท่องเที่ยว, ธุรกิจแฟรนไชส์ แล้วก็รวมถึงร้านค้าปลีกด้วย ซึ่งแม้ว่าจะมีธุรกิจเปิดใหม่หลายราย แต่หลายร้านก็ไปต่อไม่ได้เพราะกลุ่มลูกค้าที่เชียงใหม่นั้นมีกำลังซื้อที่ค่อนข้างจำกัด

นั่นก็เพราะว่าเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้หลักหมื่น หรือรายได้มากกว่า 40,000 บาท/เดือนไม่มากนัก ทั้งยังไม่ค่อยมีแหล่งงานเหมือนกรุงเทพ ทำให้กลุ่มลูกค้าไม่มีกำลังซื้อของกินของใช้จากร้านใหม่ ๆ ได้ทุกวัน

ส่วนที่เราเห็นกันว่าเศรษฐกิจท่องเที่ยวดูครึกครื้นและผู้คนน่าจะมีกำลังซื้อกันนั้น ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกับนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพและที่อื่น ๆ มากกว่า ไม่ใช่คนเมืองเสมอไป

วิธีรับมือและเพิ่มยอดขาย: มอบความแปลกใหม่และปรับราคาสินค้าให้ถูกลง

ภาพจาก Facebook HAVE Multi-brand Store

เมื่อมีธุรกิจเปิดใหม่หลายรายพร้อม ๆ กัน คุณก็ต้องแน่ใจว่าร้านของคุณมีอะไรที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร เพราะคงไม่มีประโยชน์อะไรหากคุณมีสินค้าและบริการที่คล้ายเจ้าอื่นและราคาก็แพงไม่ต่างกัน ดังนั้นให้ลองลดต้นทุนการผลิตและตั้งราคาสินค้าร้านค้าปลีกให้ถูกลงเพื่อดึงดูดลูกค้าท้องถิ่นและสร้างความน่าสนใจให้กับร้าน

อย่างเช่น HAVE Multi-brand store ลูกค้าสโตร์ฮับที่เชียงใหม่ก็เลือกเปิดร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นที่เป็นศูนย์รวมเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับราคาถูกจากหลากหลายแบรนด์ให้สาว ๆ ได้เลือกช้อปกัน ถือเป็นร้านที่มีตัวเลือกหลากหลายให้กับสาว ๆ ขาช้อปและยังโดดเด่นด้วยสไตล์ที่แต่งสนุกได้ไม่ซ้ำในแต่ละวัน

เมื่อร้านค้าปลีกของคุณมีทางเลือกที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ทั้งยังราคาไม่แพงแล้ว ลูกค้าก็จะหลั่งไหลเข้ามาที่ร้านแน่นอน ที่สำคัญ จากเว็บ Chiang Mai News ยังพบว่า ชาวเชียงใหม่ชอบของดีมีดีไซน์ในราคาไม่แพงด้วย เพราะถ้าจะต้องจ่ายแพงจริง ๆ พวกเขาจะต้องได้คุณภาพสินค้าระดับสากลยังไงละ

โจทย์ข้อที่ 2: ไม่มีธุรกิจกลาง/ใหญ่ = ไม่มีกลุ่มลูกค้า

ภาพจาก Fancycrave

เชียงใหม่ก็ไม่ได้ต่างจากต่างจังหวัดทั่วไปสักเท่าไหร่ เพียงแต่ดูเหมือนเศรษฐกิจดีในหน้าท่องเที่ยวก็เท่านั้น อีกอย่างก็ไม่มีธุรกิจขนาดกลาง/ใหญ่ หรือธุรกิจประเภท B2B (Business-to-Business) และ B2C (Business-to-consumer) มากนัก ทำให้มีกลุ่มพนักงานเงินเดือนน้อยและขาดกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของหลายธุรกิจ

ตัวอย่างของธุรกิจ B2B ได้แก่ รับจ้างผลิตสินค้า, รับต่อเติมอาคารสำนักงาน, บริการติดแอร์ และขายสินค้าให้กับร้านค้า เป็นต้น

ส่วนตัวอย่างของธุรกิจ B2C นั้นจะมีทั้งร้านขายเสื้อผ้า, ร้านขายของชำ, ร้านขายกระเป๋า, ร้านขายรองเท้า ฯลฯ

นอกจากนี้ที่เชียงใหม่ยังไม่มีย่านที่เป็นศูนย์รวมของสำนักงานออฟฟิศขนาดกลางใหญ่เหมือนในกรุงเทพ เช่น อโศก รัชดา หรือ สาทรด้วย จึงไม่น่าแปลกในที่เชียงใหม่จะมีคนขายมากกว่าคนซื้อและมีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าแฟชั่นหรือสินค้าราคาแพงไม่มากนัก

วิธีรับมือและเพิ่มยอดขาย: ใช้ Loyalty Program เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาที่ร้าน

สำหรับวิธีรับมือกับสถานการณ์ข้อนี้และวิธีเพิ่มยอดขายก็คงจะไม่ต่างกับโจทย์ข้อที่ 1 ที่เราได้แนะนำไปมากนัก แต่ก็อาจจะเพิ่มกลยุทธ์มัดใจลูกค้าเพื่อให้พวกเขากลับมาใช้บริการและซื้อสินค้ากับร้านค้าปลีกของคุณอีก

และกลยุทธ์ที่ว่านี้ก็คือการใช้ Loyalty Program โปรแกรมสมาชิกและบริหารความสัมพันธ์ที่จะสร้างความภักดีพร้อมปลูกฝังให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์ เพราะจากการศึกษาของ LoyaltyOne เรื่อง Loyalty Big Picture นั้นพบว่า

“ลูกค้าสมาชิกที่อยู่ใน Loyalty Program มีสัดส่วนรายได้ 43% ของรายได้รวมของบริษัท 95% บอกว่า สมาชิกมีการใช้จ่ายมากกว่าคนที่ไม่ใช่สมาชิก และ 60% บอกว่าสมาชิกมีการใช้จ่ายมากกว่าคนที่ไม่ใช่สมาชิกถึง 2-3 เท่า

โดยรูปแบบของ Loyalty Program ในปัจจุบันนั้นมีทั้งบัตรสะสมแต้ม, โปรแกรมคืนเงินหรือ Cashback, ระดับสมาชิก และการแสตมป์บัตร ซึ่งคุณสามารถขอข้อมูลจำเป็น เช่น ชื่อ เบอร์โทร และวันเกิดเพื่อลงทะเบียนลูกค้า จากนั้นก็ส่งโปรโมชั่นไปยังเบอร์มือถือและมอบส่วนลดให้กับพวกเขาเมื่อซื้อสินค้าครบทางที่ร้านกำหนดได้ โดยส่วนลดที่ว่านี้อาจจะเป็น Cashback ยอดเงินคืนสะสมที่ลูกค้าแลกรับสิทธิ์เพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไปก็ได้ เพราะ Loyalty Program รูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในไทยของเรา แล้วทำไมเจ้าของธุรกิจในเชียงใหม่อย่างคุณจะไม่ลองดูละ ​?

โจทย์ข้อที่ 3: โดนร้านค้าออนไลน์แซงหน้า

ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 จาก Picjumbo

ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจ SME เริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่มีการค้าขายแบบ Omnichannel ที่เป็นการขายแบบออฟไลน์และออนไลน์ แล้วเว็บไซต์กับแอพขายของออนไลน์ก็ยังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ลูกค้าคนเมืองชาวเชียงใหม่มีตัวเลือกมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้อกับร้านค้าที่อยู่ในเชียงใหม่เสมอไป

โดยพวกเขาจะสั่งซื้อสินค้าจากร้านที่อยู่ในกรุงเทพหรือจังหวัดอื่น ๆ ในไทยก็ได้ แถมค่าส่งยังถูกมาก ๆ เผลอ ๆ เมื่อซื้อสินค้าครบตามที่ทางร้านกำหนดก็รับฟรีค่าจัดส่งกันไปเลย ! ดังนั้นเจ้าของธุรกิจร้านค้าปลีกอย่างร้านขายเสื้อผ้า ร้านแฟชั่น ร้านกระเป๋า ฯลฯ จึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากร้านค้าออนไลน์ที่ว่านี้

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 2562 ของ bltbangkok.com พบว่าชาวไทยช้อปเสื้อผ้าออนไลน์เป็นอันดับ 1 อีกด้วย รองลงมาก็คือสินค้าประเภทบ้านและสวน, สินค้าประเภทท่องเที่ยว, เครื่องสำอาง และสินค้ากีฬา ตามลำดับ แล้วชาวเชียงใหม่ก็หันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เพราะไม่ต้องขับรถออกนอกบ้าน ไม่ต้องไปกาดหรือตลาดให้เหนื่อย และยังไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอีกด้วย และเหตุนี้เองที่ทำให้หลายร้านไม่มีลูกค้าเข้าร้าน ขาดกระแสเงินสดไหลเวียนในร้าน แล้วก็ต้องปิดตัวลงในที่สุด

วิธีรับมือและเพิ่มยอดขาย: ปรับตัวให้เข้ากับนักช้อปยุค 4G ด้วยการเปิดร้านออนไลน์

ภาพจาก Picjumbo

ไหน ๆ คนไทยก็ช้อปออนไลน์เป็นอันดับ 3 ของโลกและกลุ่มลูกค้าชาวเชียงใหม่ก็หันมาซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้นแล้ว ทำไมเจ้าของร้านค้าปลีกอย่างคุณไม่อำนวยความสะดวกและเพิ่มช่องทางการช้อปเพื่อเอาใจกลุ่มลูกค้าคนเมืองของคุณละ ?

โดยคุณสามารถเริ่มโพสต์ขายใน Facebook, Instagram, Line หรือเปิดเว็บไซต์ออนไลน์เป็นของร้านคุณเองได้ และถ้าหากคุณคิดหนักในการทำเว็บก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้โดยไม่ต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรมใด ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีระบบ POS หรือโปรแกรมขายหน้าร้านสุดอัจฉริยะให้คุณเชื่อมต่อหน้าร้านกับร้านค้าออนไลน์ของคุณได้ง่าย ๆ

แค่เปิดใช้งานฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซในระบบ POS ก็ขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย เท่านี้ลูกค้าก็เข้าถึงร้านของคุณและช้อปสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว แต่คุณต้องแน่ใจว่าระบบคิดเงินที่คุณใช้มีฟีเจอร์นี้ด้วย เพราะถ้าหากคุณยังใช้เครื่องคิดเงินแบบเดิม ๆ หรือแบบทั่วไป คุณก็จะเปิดเว็บขายออนไลน์ไม่ได้

ดังนั้นถ้าอยากเพิ่มยอดขายและรักษากลุ่มลูกค้าไว้ได้ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับนักช้อปยุค 4G ที่หันมาช้อปออนไลน์กันแล้วละ !

โจทย์ข้อที่ 4: ธุรกิจที่รุ่งคือธุรกิจท่องเที่ยว

ภาพโดย Ben lee จาก Pixabay

อย่างที่เรารู้กันดีนั่นแหละว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่องท่องเที่ยว ดังนั้นธุรกิจที่ไปได้สวยจริง ๆ ก็คือธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ อย่างร้านอาหาร บริษัททัวร์ และร้านขายของต่าง ๆ แล้วร้านที่ว่านี้ก็ไม่ใช่ร้านที่สร้างแหล่งงานและกระจายรายได้ให้กับคนท้องถิ่นได้ดีสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้เป็นบริษัทและไม่มีการจ้างงานพนักงานมากนัก จึงไม่มีกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ๆ หากจะมีกลุ่มลูกค้าที่รายได้เยอะจริง ๆ ก็เห็นจะเป็นเจ้าของธุรกิจมากกว่า

ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้คนที่มีรายได้และมีกำลังซื้อจริง ๆ ไม่มากนัก แล้วก็ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยขาดกลุ่มลูกค้านั่นเอง

วิธีรับมือและเพิ่มยอดขาย: เพิ่มสินค้าท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

ภาพจาก Shutterstock

ร้านคุณอาจจะลองเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว เช่น ขายของที่ระลึก ขายเสื้อผ้าพื้นเมือง และขายของแฮนด์เมด เป็นต้น เพราะนอกจากสินค้าเหล่านี้จะช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและงานฝีมือแล้ว ยังช่วยดึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวเข้ามาที่ร้านได้ด้วย

นอกจากนี้ก็อาจจะลดราคาสินค้าในช่วงเทศกาลสำคัญของเชียงใหม่หรือวางแผนโปรโมชั่นเพื่อเรียกลูกค้าใหม่ ๆ แล้วก็กระตุ้นให้ลูกค้าเก่ากลับมาก็ได้ เช่น ลดราคา 10% สำหรับลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกครั้งแรก ซื้อ 3 ชิ้น ชิ้นที่ 4 ลด 25% และการสินค้าทั่วไปลดราคา เป็นต้น

โจทย์ข้อที่ 5: นักศึกษาจบใหม่ (แม้จะเป็นคนเชียงใหม่เอง) มักไม่ทำงานที่เชียงใหม่

ภาพโดย Michelle Maria จาก Pixabay

แน่นอนว่านักศึกษาจบใหม่ไฟแรงส่วนใหญ่นั้นมักจะอยากตามหาความฝันและไม่ค่อยทำงานที่เชียงใหม่แม้จะเป็นบ้านเกิดก็ตาม อีกอย่างตลาดงานที่เชียงใหม่ก็มักไม่ค่อยมีตัวเลือกเท่าไหร่นัก หลายคนจึงเลือกที่จะตามหางานที่ใฝ่ฝันและรายได้ที่พอใจ ทำให้พวกเขามุ่งหน้าสู่กรุงเทพและจังหวัดอื่น ๆ ที่มีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดีกว่างานในเชียงใหม่

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรุงเทพหรือจังหวัดอื่นมีกำลังซื้อและกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ๆ ตลอดเวลา แล้วก็มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มากกว่า ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกและร้านค้าต่าง ๆ จึงมีโอกาสรอดและประสบความสำเร็จมากกว่า

ตรงกันข้ามกับธุรกิจร้านค้าปลีกต่าง ๆ ในเชียงใหม่ที่มีโอกาสรอดและประสบความสำเร็จน้อย เนื่องจากไม่ค่อยมีตัวเลือกงานและรายได้ที่เหมาะสมมากพอที่จะดึงนักศึกษาจบใหม่ไฟแรงทั้งหลาย เพราะฉะนั้นกำลังซื้อและกลุ่มลูกค้าในเชียงใหม่จึงค่อนข้างจำกัดนั่นเอง

วิธีรับมือและเพิ่มยอดขาย: เพิ่มสินค้าให้ตรงกลุ่มลูกค้าและโปรโมทร้านในโซเชียล

หากจะรับมือกับปัญหาข้อนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เจ้าของธุรกิจร้านค้าปลีกอย่างคุณจะต้องทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายให้ดีและวางแผนการขายให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า เพราะแม้นักศึกษาจบใหม่จะแยกย้ายไปทำงานที่กรุงเทพหรือจังหวัดอื่น แต่ก็ยังมีกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ

โดยคุณอาจจะเพิ่มสินค้าที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ตั้งราคาที่เข้าถึงง่าย และโปรโมทร้านตามช่องทางโลกโซเชียลเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น ถ้าร้านของคุณยังไม่มีเพจบน Facebook, แอ็คเคาท์ IG, บัญชี LINE หรือ Pinterest ก็ได้เวลาแล้วละที่จะใช้ช่องทางนี้เป็นสื่อกลาง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของ Picodi.com พบว่าชาวไทยช้อปออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน 56% ช้อปผ่านคอมพิวเตอร์ 40% และแท็บเล็ต 4% ดังนั้นการโปรโมทร้านออนไลน์และโซเชียลมีเดียก็จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางเพิ่มยอดขายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

สรุปวิธีเพิ่มยอดขายร้านค้าปลีกในเชียงใหม่

เมืองเชียงใหม่ที่ดูเหมือนจะเศรษฐกิจครึกครื้นและมีผู้คนพลุกพล่าน แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองปราบเซียน แล้วก็มีธุรกิจหลายรายที่ต้องปิดตัวไปเนื่องจากขาดกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ แล้วอีกอย่างคนเชียงใหม่เองก็มักชอบสินค้ามีดีไซน์ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไปพร้อมกับหันมาช้อปออนไลน์กันมากขึ้นแล้ว ดังนั้นการจะเพิ่มยอดขายร้านค้าปลีกในเชียงใหม่และทำให้ร้านของคุณประสบความสำเร็จได้ คุณก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มลูกค้านั่นเอง

แล้วจะทำได้ยังไงกันละ ? ก็ขายสินค้าคุณภาพในราคาถูกและหันมาขายออนไลน์เพื่อปรับตัวให้เข้ากับนักช้อปยุค 4G ยังไงละ เท่านี้ร้านค้าปลีกของคุณก็จะอยู่รอดในจังหวัดเชียงใหม่เมืองปราบเซียนแล้ว

CTA - ระบบ POS สโตร์ฮับ โปรแกรมจัดการร้านค้าปลีกและร้านอาหาร

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com