WhatsApp our business consultants: +601117227604

จริงเหรอ? จะใช้เครื่อง POS คิดเงินได้ ต้องจดทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อน

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องคิดเงินกับกรมสรรพากร

หลังจากที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อเครื่อง POS มาใช้งานในร้านค้า ทีนี้มาถึงประเด็นที่เชื่อเลยว่าหลายๆ คนยังไม่รู้มาก่อนแน่ๆ เพราะว่าที่จริงแล้วว่าเราจะต้องจดทะเบียนเครื่องคิดเงิน หรือเครื่อง POS กับกรมสรรพากรก่อน ถึงจะนำมาใช้ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

แต่ทั้งนี้ บริษัทของคุณก็ต้องผ่านการจดทะเบียนบริษัทมาอย่างถูกต้องก่อนแล้วด้วยนะ และคุณถ้าจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้วล่ะก็ วันนี้เราจะพาไปดูขั้นตอนการเตรียมตัวจดทะเบียนเครื่อง POS กับกรมสรรพากรกัน ซึ่งถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย !

ทำไมถึงต้องจดทะเบียนเครื่อง POS กับสรรพากร ?

ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay

หากว่าร้านของคุณไม่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไปจดภาษีมูลค่าเอาไว้ ก็ไม่ต้องกังวลไปว่าจะต้องไปเสียเวลาจดทะเบียนใด ๆ กับกรมสรรพากร

แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนเครื่อง POS เพื่อที่จะได้ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

อีกทั้งยังเป็นการเอื้อความสะดวกให้กับร้านที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าด้วยเช่นกัน เพราะหลังจากที่จดทะเบียนเครื่อง POS หรือเครื่องคิดเงินแล้ว คุณจะใช้เครื่องนี้ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้าได้โดยทันที แต่ก่อนที่เราจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อได้นั้น ก็ต้องเตรียมตัวขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรตามนี้ซะก่อน

ขั้นตอนการเตรียมตัวยื่นคำร้องจดทะเบียนเครื่อง POS ต่อกรมสรรพากร

ภาพที่ 1 และ 2 จาก Pixabay

ก่อนที่ร้านของเราจะออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้น เราต้องผ่านการจดทะเบียนบริษัท หรือ ก.พ. 20 เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการท่านใดผ่านขั้นตอนนี้มาเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเราจะมาดูขั้นตอนการยื่นคำร้องขอใช้เครื่อง POS คิดเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีออย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูขั้นตอนการดำเนินการโดยย่อกันเลยดีกว่า

1. เลือกตำแหน่งการวางเครื่องให้ตรงกับความจริง

เมื่อได้เครื่องมาแล้ว ให้วางเครื่อง POS คิดเงินไว้ตรงตำแหน่งที่เราต้องการจะวางจริงๆ เพราะจะต้องแสดงแผนผังการวางเครื่องคิดเงินและผังการเชื่อมต่อตัวอุปกรณ์ให้กรมสรรพากรได้เห็นด้วย

 

2. เอกสารที่ต้องใช้

  • เอกสารแบบ ภ.พ. 06
  • แบบแสดงคุณสมบัติของเครื่อง POS คิดเงิน
  • แผนผังการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคิดเงินกับอุปกรณ์ต่างๆ
  • ตัวอย่างใบกำกับภาษีและข้อมูลต่างๆ ที่ปริ้นท์โดยเครื่องคิดเงิน โดยให้พิมพ์ออกมาจากตัวเครื่องของร้านเราเลย และในช่วงที่รออนุมัติ ต้องหยุดใช้เครื่องไปก่อน พอได้รับการอนุมัติ ถึงจะใช้ได้อีกครั้ง
  • แผนผังแสดงการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค
  • แผนผังการวางเครื่องคิดเงินในร้าน
  • ข้อมูลระบบรักษาความปลอดภัย

ภาพโดย TeroVesalainen จาก Pixabay

3. ยื่นเอกสารกับกรมสรรพากรในพื้นที่ที่ก่อตั้งกิจการ

หากว่าใครสะดวกไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง ก็ให้ยื่นจดทะเบียนเครื่อง POS คิดเงินกับกรมสรรพากรสังกัดพื้นที่ของร้านเราได้เลย แต่ถ้าหากว่าร้านของเรามีหลายสาขาก็ให้เราไปยื่นคำขออนุมัติที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สำนักงานใหญ่แทน ถ้าหากว่าไม่สะดวกก็ไม่ต้องกังวลไป สมัยนี้กรมสรรพากรก็อำนวยความสะดวกประชาชนมากขึ้นแล้วด้วยการเปิดช่องทางให้ยื่นผ่านทางออนไลน์กันได้ทางหน้าเว็บ https://www.rd.go.th/publish/26216.0.html กันได้เลย

 

4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน

  • ชื่อผู้ประกอบการ ให้ใส่ชื่อบริษัทหรือชื่อบุคคลที่จดทะเบียนและได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรมาเรียบร้อยแล้ว
  • ชื่อสถานประกอบการ นั่นก็คือชื่อร้านหรือชื่อกิจการของเรานั่นเอง
  • ข้อมูลที่อยู่ ให้ใส่ข้อมูลที่จัดตั้งบริษัทของเราให้ครบถ้วน (สำนักงานใหญ่)
  • จดทะเบียน ก.พ. 20 เมื่อใด ระบุวันที่เราได้จดทะเบียน ก.พ. 20 ลงไปด้วย
  • กรอกชื่อรายการประเภทสินค้า ในส่วนนี้เราต้องระบุประเภทของสินค้าหรือรายการอาหารที่เราจะขายเป็นส่วนใหญ่ลงไป
  • เลือกประเภทของกิจการ ต่อมาเราต้องระบุลงไปให้ชัดเจนว่ากิจการของเราเป็นกลุ่มประเภทไหน
  • กรอกข้อมูลที่อยู่ของสำนักงานหรือสาขาที่ต้องการจดทะเบียนเครื่อง POS โดยการระบุที่อยู่ลงไปให้ชัดเจน ในกรณีที่สรรพากรจะเดินทางมาตรวจสอบและแปะสติกเกอร์ให้
  • ชนิดของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ชนิดคอมพิวเตอร์และใส่จำนวน Ipad ที่ต้องการให้ออกใบกำกับภาษีได้ด้วย

ภาพที่ 1 และ 2 จาก Pixabay

5. รอผลอนุมัติ

เมื่อกรอกข้อมูลและยื่นเอกสารครบถ้วนเสร็จสมบูรณ์แล้ว กรมสรรพากรจะทำการพิจารณาเอกสารของเราทั้งหมดและคุณสมบัติของเครื่องคิดเงิน POS ที่ต้องการจดทะเบียน เมื่อผ่านการอนุมัติ เค้าจะส่งผลและเลขรหัสประจำเครื่องมาให้เรา 1 เครื่องต่อ 1 รหัส แต่ถ้าเรามีหลายสาขาก็เท่ากับว่าต้องจดทะเบียนเครื่อง POS หลายเครื่อง เราจึงจำเป็นที่จะต้องส่งคำร้องขอคำอนุมัติไปตามจำนวนเครื่องที่เรามี

การจดทะเบียนเครื่อง POS ใช้เวลาทำการประมาณ 30-45 วัน ดังนั้น เจ้าของกิจการต้องมีการวางแผนยื่นต่อกรมสรรพากรล่วงหน้าเพื่อที่จะออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้อย่างทันเวลา เท่านี้ก็จดทะเบียนเครื่อง POS และใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้แล้ว !

6. ติดตั้งเลขรหัสบนตัวเครื่อง

เมื่อเสร็จสิ้นการจดทะเบียนเครื่อง POS กรมสรรพากรจะส่งรหัสมาให้เราแล้วปุ๊ป ให้เรานำเลขไปใส่ตามจุดของเอกสารใบกำกับภาษีหรือรายงานตามที่สรรพากรเป็นผู้กำหนด

7. ติดต่อไปที่กรมสรรพากร

เกือบจะเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้ว หลังจากนั้นเราต้องติดต่อไปที่กรมสรรพากร เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ของกรมมาติดแถบสติกเกอร์ที่เครื่อง POS คิดเงินของเรา ถึงจะเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนความ

เมื่อธุรกิจของเรากำลังไปได้สวยและกำลังจะทำการขยายสาขา ยิ่งจำเป็นที่จะนำระบบ POS คิดเงิน มาช่วยงานร้านค้า แต่ต้องไม่ลืมนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรเด็ดขาด !

เพราะถ้าหากลูกค้าเรียกขอใบกำกับภาษีจากร้านของเราแต่ปรากฎว่า ตายแล้ว ! ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเลย ก็จะทำให้เราไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้ เพราะมันผิดกฎหมายขั้นรุนแรง ทั้งยังทำให้ร้านเสียเครดิตไปโดยปริยายอีกด้วย

ดังนั้นมาเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการจดทะเบียนเครื่อง POS เมื่อเปิดร้านกันเถอะ !

บริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วยสโตร์ฮับ

คลิกที่นี่เพื่อรู้ว่าสโตร์ฮับสามารถช่วยคุณจัดการธุรกิจได้อย่างไร

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com